วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รัฐบาลเฉพาะกาล


รัฐบาลเฉพาะกาล

            คำว่า รัฐบาลเฉพาะกาล มาจากคำอังกฤษว่า Provisional Government หรือจะเรียกว่า รัฐบาล ชั่วคราว (Interim Government) ก็ได้
            รัฐบาลเฉพาะกาล คือ เครื่องชี้ขาดความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การ เปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการให้เป็นระบอบประชาธิปไตย เพราะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะ ความสำเร็จได้ ต้องใช้รัฐบาลเฉพาะกาลเท่านั้น เป็นรัฐบาลของประชาชนจึงมีอำนาจมากที่สุด ไม่ใช่ รัฐบาลตามปกติ หรือรัฐบาลรักษาการณ์ (Caretaker Government) ซึ่งไม่มีอำนาจ
            ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับ ความสำเร็จของระยะผ่าน (Transitional Periods) หรือที่เราเรียกกันว่า “ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ” (Turning Point)
            ความสำเร็จของระยะผ่าน จึงขึ้นอยู่กับความสำเร็จของ การปกครองในระยะผ่าน ซึ่งก็คือ รัฐบาลเฉพาะกาล
            นักวิชาการก็ยังไม่เข้าใจว่ารัฐบาลเฉพาะกาลเป็นอย่างไร เช่น ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ พูดไว้ใน โพสต์ทูเดย์ว่า … รัฐบาลแห่งชาติเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายกลับสู่สภาวะปกติ รัฐบาลแห่งชาติก็ต้องสลายตัวไปเพื่อให้ระบบการตรวจสอบสามารถทำงานได้ตามปกติ ต้องระลึกไว้ เสมอว่าจะไม่มีรัฐบาลแห่งชาติในสภาวะปกติ ถ้าเรามีนักวิชาการเช่นนี้ ก็ถือเป็นเวรกรรมประเทศ

         
            รัฐบาลที่มีบทบาทในการแก้วิกฤติของชาติได้นั้น ต้องมีฐานะเป็น “รัฐบาลเฉพาะกาล” (Provisional Government) เท่านั้น เป็นรัฐบาลที่มีภารกิจพิเศษเฉพาะแต่เป็นการชั่วคราว กล่าวคือ เมื่อ ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจพิเศษเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องยุบตัวเอง แล้วเปิดให้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected Government) เข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศต่อไป จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รัฐบาลชั่วคราว (Interim)
            รัฐบาลเฉพาะกาล เป็นรัฐบาลชนิดหนึ่งของหลักวิชารัฐศาสตร์ ที่จัดตั้งขึ้นในยามที่บ้านเมืองมี ความจำเป็นมีวิกฤติทั่วไปเท่านั้น คือต้องมีรัฐบาลชนิดนี้เท่านั้นจึงจะแก้ปัญหาของชาติได้ เช่น การ รักษาความมั่นคงของชาติ การสงคราม การเปลี่ยนแปลงการปกครอง การสร้างประชาธิปไตย การฟื้นฟูหลังเหตุการณ์วิกฤติทางการเมือง เพราะรัฐบาลชนิดนี้มีประชาชนเป็นกำลังจึงมีอำนาจมาก ที่สุด
            แต่รัฐบาลชนิดนี้สำหรับบ้านเรา ระบอบเผด็จการซึ่งเป็นอำนาจของชนส่วนน้อยจะไม่ยอมให้ มีรัฐบาลเฉพาะกาลเกิดขึ้น เพราะกลัวเสียอำนาจ จึงใช้วิธีการทำลายการจัดตั้งรัฐบาลชนิดนี้ ทำลาย สภาองคมนตรีของ ร.7 ทำลายสภาปฏิวัติแห่งชาติ กล่าวหาว่า การปฏิวัติเป็นความรุนแรง การปฏิรูป เป็นความสันติ และเป็นเผด็จการเพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลรักษาการณ์เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น