วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย


หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย

            อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ได้กล่าวสุนทรพจน์ สดุดีทหารหาญที่เสียชีวิตที่เมือง Gettysburg เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1863 ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ ได้พูดถึงการปกครองของสหรัฐอเมริกาว่าเป็น การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Regime) เพราะเป็น การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยประชาชน เพื่อประชาชน -- Government of the People, by the People, for the People
            จากคำกล่าวของท่านอับราฮัมลินคอล์นครั้งนี้ เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการทั่วไปว่า เป็นคำ จำกัดความของ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย (Principle of Government) ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ที่สุด และถือเป็นหลักมาจนถึงทุกวันนี้
            ของประชาชน คือ อำนาจอธิปไตยของประชาชน (Sovereignty of the People)
            โดยประชาชน คือ รัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected Government)

                                                            เสรีภาพ (Freedom)
            เพื่อประชาชน คือ                    ความเสมอภาค (Equality)
                                                            หลักนิติธรรม (Rule of the Laws)


หลักนิติธรรม

            หลักนิติธรรมเป็นหลักที่ได้ยึดถือกันมาแต่โบราณ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เรียกหลักนี้ ว่า “พระธรรมศาสตร์” ส่วนการออกกฎหมายของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ซึ่ง ราชศาสตร์จะต้องไม่ขัด หรือขัดแย้งกับพระธรรมศาสตร์ คือ การออกกฎหมายใดๆ ต้องไม่ขัดต่อหลัก นิติธรรม
            ในทางวิชาการแบ่งกฎหมายออกเป็น 3 ระดับ
            1. กฎหมายสามัญ (Common Law) ได้แก่ กฎหมายทั่วไป เช่น ประมวลกฎหมายต่างๆ และ กฎหมายระดับต่างๆ
            2. กฎหมายแม่บท (Principle Law) ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเป็น แม่บทสำหรับการออกกฎหมายทั่วไป
            3. กฎหมายสูงสุด (Supreme Law) คือ หลักของกฎหมาย (Rule of Law) หรือหลักที่กฎหมาย อื่น รวมทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญจะต้องยึดถือ เพราะเป็นหลักที่ใช้ออกกฎหมายทุกชนิด กฎหมายใดๆ จะต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม หรือหลักกฎหมาย
            หลักเหล่านี้ได้แก่ การกระทำใดเป็นความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ จะออกกฎหมายย้อน หลังให้เป็นโทษแก่บุคคลมิได้ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมถือว่ายังมิได้กระทำความผิดจนกว่าศาลจะมีคำ พิพากษา ความมั่นคงของชาติเป็นกฎหมายสูงสุด จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการประกันตัว ศาลจะลงโทษ เกินกว่ากฎหมายกำหนดมิได้ ความเป็นอิสระของศาล หลักทศพิธราชธรรมเป็นหลักกฎหมาย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น