ทางสายกลางความเป็นกลาง
คำว่า “เป็นกลาง” กับคำว่า
“สายกลาง” มีความหมายไม่เหมือนกัน ทั้งในเรื่องการเมือง ศาสนา
และเรื่องธรรมดาทั่วไป
“เป็นกลาง” (Neutral) นั้นจะเกี่ยวกับเรื่อง
ข้อขัดแย้ง เสมอไป ถ้าไม่มีความขัดแย้งความเป็น กลางก็มีขึ้นไม่ได้ เช่น
ถ้ามีคนทะเลาะกัน มีอีกคนหนึ่งไม่เข้าใจ เข้าไปห้ามทั้งสองข้างไม่ให้ทะเลาะ กัน
คนๆ นั้นก็เป็นกลางระหว่าง 2 ฝ่าย
“สายกลาง” นั้น
เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป คือ เรื่องของการกระทำที่ไม่ตึงไม่หย่อนในทุกเรื่อง เรียก ว่า
“ความพอดี” (Moderation) ความพอดีทำให้เกิด “ความสมดุล” ทางพระพุทธศาสนา
เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา”
ทางสายกลางก็เอาไปใช้กับความเป็นกลางได้
คือ เป็นกลางด้วยการเดินสายกลาง ก็จะแก้ปัญหา ความขัดแย้งนั้นได้ เช่นกันคือ แก้ปัญหาในแบบไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป
เช่น เห็นคนทะเลาะ กันแล้วนิ่งเฉย เพราะถือว่าเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดอย่างนี้
เรียกว่า “หย่อนเกินไป” ไม่พอดี หรือ ถือ ว่าเป็นกลางแล้วห้ามไม่เชื่อ
กระโดดเข้าชกปากข้างโน้นทีข้างนี้ที เพื่อบังคับให้เขาเลิกทะเลาะกันอย่าง นี้ก็ “ตึงเกินไป”
แก้ปัญหาไม่ได้ แต่ถ้าเข้าไปห้ามทั้ง 2
ข้างด้วยเหตุผลอย่างเหมาะสมให้เลิกทะเลาะกัน และปรับความเข้าใจกันได้อย่างพอดี
ก็เรียกว่า สายกลาง
ทางสายกลางนี้
เป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็น หลักธรรมแรกของพระพุทธศาสนาจาก
“ปฐมเทศนา” แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วย “อุโภอันเต”
ที่สุด 2 อย่าง และ มัชฌิมาปฏิปทา โดยโยคีอัญญาโกณฑัญญะ
ดวงตาเห็นธรรมเป็นอรหันต์องค์แรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น