ศาล
รัฐธรรมนูญทุกฉบับ (ฉบับปัจจุบัน
ม.198) บัญญัติว่า “บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่ โดยพระราชบัญญัติ” หมายความว่า
ศาลไม่อิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งผิดหลักวิชาการว่าด้วย ความเป็นอิสระของศาล
ศาลที่ถูกต้องตามหลักวิชา
จะต้องอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร รวมทั้ง อำนาจอื่นๆ ทั้งปวง
เพราะอำนาจศาลเป็น อำนาจอธิปไตย
ตามหลักของ “ระบบรัฐสภา” ศาลเป็นใหญ่เป็นอิสระ
ถ้ามีปัญหาว่ากฎหมายจะขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญ ศาลย่อมเป็นผู้ชี้ขาด มิใช้ให้ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
ชี้ขาด เพราะคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกลไกของรัฐสภามิใช่ศาล
โดยเฉพาะยังเอาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาทำลาย ยุบพรรคการเมืองอีกด้วย
จึงยิ่งผิดหน้าที่ยิ่งขึ้น ทำให้เกิดเป็นอำนาจนิติบัญญัติเข้ามาทำหน้าที่ตุลาการ ผิดหลักระบบรัฐสภา
ทำให้เสียดุลในดุลของระบบรัฐสภาเป็นรัฐล้มเหลว (ศาลการเมือง) ยักษ์ไร้ กระบอง
การจัดตั้งศาลปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญขึ้นโดยนักวิชาการอ้างว่า เพื่อให้มีศาลปกครองและ ศาลรัฐธรรมนูญ
ได้เป็นอิสระจากศาลสถิตยุติธรรมนั้น ผิดหลักวิชาการอย่างร้ายแรง
ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ 2475 มาตรา 58
บัญญัตไว้ว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ท่านว่าเป็นอำนาจ ของศาลโดยเฉพาะ”
บทบัญญัตินี้
ถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับหลักของ “ระบบรัฐสภา” และ รัฐธรรมนูญ
ที่บอกว่า ศาลเป็นใหญ่เป็นอิสระ เพราะอันที่จริงตามหลักของระบบรัฐสภา
ศาลย่อมเป็น ผู้ชี้ขาดอยู่แล้ว คือมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี แล้วยังบัญญัติไว้อีกด้วยว่า
“เป็นอำนาจของศาล โดยเฉพาะ” แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันตัดคำว่า “โดยเฉพาะ”
ออกเสียเหลือเพียง “การพิจารณา พิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล…” (197)
การที่เอาโดยเฉพาะออกเสีย
ก็เพราะผู้ร่างแบ่งอำนาจของศาล ไปให้กับ “รัฐสภา” เสียบ้างคือ ต้องการเอาคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
เป็น “ศาล” เสียบ้าง และยังเอา “ศาล” เป็น “ผู้บริหาร” เสียบ้าง
เช่น เป็นผู้ออกกฎหมายจับกุมผู้กระทำความผิด รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้ความเป็นอิสระของ
ศาลถูกทำลายลงไปจนหมดสิ้น ทำให้ศาลซึ่งเป็น “อำนาจสุดท้าย” ในการถือดุลในดุล
เสียดุลจนหมด สิ้น มันจึงเป็น “ระบบรัฐสภา” ที่ตลกที่สุดในโลก ปัญหาที่เกิด
วิกฤติทั่วไป (General Crisis) ในบ้าน เมืองของเราขณะนี้ ก็เพราะนักวิชาการและนักการเมืองไม่เคารพหลักวิชานั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น