ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่?
ปัญหาที่แก้ไม่ตกปัญหาหนึ่งของบ้านเมืองเราก็คือ
ความเข้าใจว่า ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง
และยังเข้าใจว่าการให้มีการเลือกตั้งทุกระดับ
หรือกระจายการเลือกตั้งคือ การกระจาย อำนาจ กระทั่งเข้าใจว่าการเลือกตั้งเป็นกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย
ก็ยิ่งเป็นความเข้าใจผิดของพี่น้อง ประชาชนอย่างมหันต์
การเลือกตั้งไม่ใช่วิธีการกระจายอำนาจ
แต่เป็นทั้งวิธีการของการรวมอำนาจการปกครอง (Centralization of
Administrative Power) ของประเทศรัฐเดียว (Unitary State) และของ การ กระจายอำนาจการปกครอง
(Decentralization of Administrative Power) ของประเทศหลายรัฐ (Multi-State)
ในการรักษาและกระชับอำนาจการปกครองนั้นๆ
การเลือกตั้งนั้นเป็นเพียงวิธีได้อำนาจซึ่งดูเหมือนเป็นความชอบธรรม
แต่ความชอบธรรมนั้นอยู่ ที่การใช้อำนาจต่างหาก คือ เพื่อประชาชน
หรือเพื่อคนรวย ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งตัวของมันเองเป็น วิธีการประชาธิปไตย
(Democratic Means) แต่ถ้าดูผิวเผินก็นึกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democratic
Regime)
ถ้าเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตยได้แล้ว
การเลือกตั้งยิ่งมากยิ่งดี แต่ในทาง กลับกันในระบอบเผด็จการ
ยิ่งมีเลือกตั้งมากเพียงใดก็จะยิ่งส่งเสริมระบอบเผด็จการมากขึ้นเพียงนั้น
ความเข้าใจที่ว่า การกระจายอำนาจ คือประชาธิปไตยนั้น
ก็ถูกต้องอยู่ แต่ต้องเข้าใจว่า อำนาจ ที่ต้องกระจายนั้นคือ
“อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) ไม่ใช่ “อำนาจการปกครอง”
(Administrative Power)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น