ผู้ถือดุล
“ระบบ” (System) ทุกระบบ
ตั้งแต่ใหญ่ที่สุดจนถึงเล็กที่สุด ตั้งแต่ “เอกภพ” (Universe) จนถึง “ปรมาณู”
(Atomic) ทั้งที่เป็นรูปธรรม (Concrete) และเป็นนามธรรม (Abstract) จะดำรงความเป็น
ระบบอยู่ได้ ต้องมี ความสมดุล (Balance) หรือมีดุลยภาพ (Equilibrium)
และในดุลยภาพนั้นต้องมี “ผู้ถือดุล”
ผู้ถือดุลของระบบที่ใหญ่ที่สุด คือ
เอกภาพ ก็คือ “ความว่าง” หรือ “ศูนย์” (Zero) ซึ่งทาง พระพุทธศาสนา
เรียกว่า “สูญญตา” และเรียกความสมดุลนั้นว่า “มัชฌิชาปฏิปทา”
(Moderation) เรียกเป็นไทยว่า “ทางสายกลาง” ผู้ถือดุลของระบบที่ใหญ่รองลงมาคือ
“สุริยระบบ” (Solar System) ก็คือ ดวงอาทิตย์
ความสมดุลเกิดจากการถ่วงดุล
แต่มักจะมีความเข้าใจกันว่า การถ่วงดุลนั้น หมายถึง แต่ละส่วน ในระบบมีกำลัง
หรืออำนาจเท่าๆ กัน แน่นอนบางส่วนมีกำลังหรือมีอำนาจเท่ากัน หรือมากน้อยกว่า กันไม่มาก
แต่จะต้องมีส่วนหนึ่งมีอำนาจหรือมีกำลังมากที่สุด ครอบงำส่วนอื่นๆ ไว้ทั้งหมด
จึงจะ ทำให้การถ่วงดุลระหว่างส่วนต่างๆ เกิดความสมดุล และดำรงความเป็น “ระบบ”
(System) นั้นๆ อยู่ได้
การถ่วงดุลในระบบสุริยะจักรวาล
ดาวพระเคราะห์ต่างๆ มีกำลังมากน้อยกว่ากันไม่มาก แต่ ดวงอาทิตย์มีกำลังมากที่สุดเป็นตัวหลักให้เกิดการถ่วงดุล
และดำรงความเป็นดุลยภาพของของ สุริยระบบไว้ได้
ถ้าดวงอาทิตย์เกิดสูญเสียกำลังที่ควรมี สุริยระบบก็จะแตกสลายทันที
ดุลแห่งอำนาจระหว่างมหาประเทศก็เช่นเดียวกันจะดำรงความเป็นระบบอยู่ได้
ก็ต้องมีประเทศ หนึ่งเป็น ผู้ถือดุล อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อิตาลี
อาจมีอำนาจเท่าๆ กัน แต่ต้องมีประเทศหนึ่งมีอำนาจ มากกว่าเพื่อน คือ สหรัฐ จึงจะรักษาดุลแห่งอำนาจไว้ได้
ถ้าสหรัฐอำนาจลดลงเท่ามหาอำนาจอื่น หรือ มหาอำนาจอื่นมีอำนาจเพิ่มขึ้นเท่าสหรัฐ
จะเสียดุลแห่งอำนาจ และเกิดสงครามทันที
ผู้ถือดุลจึงหมายถึงส่วนที่มีอำนาจมากที่สุดในระบบหนึ่งๆ
และนี่คือรากฐานของความรู้ว่าด้วย “ระบบ” ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
คำว่า “ระบบอะไร” ตามหลักวิชาจึงมีความหมายว่าใครเป็นผู้ถือดุล
หรือใครเป็นผู้มีอำนาจมาก ที่สุด เช่น ระบบสุริยจักรวาล
หมายถึงดวงอาทิตย์เป็นผู้ถือดุล ระบบประชาธิปไตย หมายถึง ประชาชน เป็นผู้ถือดุล
ระบบรัฐสภา หมายถึง “สภาผู้แทนราษฎร” เป็นผู้ถือดุล เป็นต้น
“ระบบรัฐสภา” (Parliamentary
System) หมายถึง สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) เป็น “สถาบันหลักทางการเมือง”
หรือ เป็น “ผู้ถือดุล” ทางการเมือง เป็นระบบ (Fusion of Powers)
“ระบบประธานาธิบดี” (Presidential
System) หมายถึง ประธานาธิบดี (President) เป็นสถาบัน หลักทางการเมือง
หรือเป็นผู้ถือดุลทางการเมือง
“ระบบกึ่งประธานาธิบดี”
(Semi-Presidential System) หมายถึง เป็นระบบกึ่งแยกอำนาจ (Semi-Separation of
Powers) เป็นผู้ถือดุล
ผู้ถือดุล หรือสถาบันทางการเมือง
ย่อมมีอำนาจมากกว่าสถาบันอื่น จึงต้องมาจากการเลือกตั้ง เช่น ระบบรัฐสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมาจากการเลือกตั้ง ระบบประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีจึงต้องมาจากการเลือกตั้ง
สถาบันอื่นที่ไม่ใช่สถาบันหลักทางการเมืองไม่จำเป็นต้อง เลือกตั้ง
แต่บ้านเราเลือกตั้งกันทุกสถาบันแล้ว
ยังเอาวุฒิสภาเป็นผู้ถือดุลอีก จึงไม่รู้ว่าเราใช้ระบบอะไร
แม้แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็ยังไม่รู้ เวรกรรมประเทศไทย ทำให้การปกครองระส่ำระสาย
ไร้เสถียรภาพ แก้ไม่ตก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น