วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ศาล



ศาล

            รัฐธรรมนูญทุกฉบับ (ฉบับปัจจุบัน ม.198) บัญญัติว่า “บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่ โดยพระราชบัญญัติ” หมายความว่า ศาลไม่อิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งผิดหลักวิชาการว่าด้วย ความเป็นอิสระของศาล
            ศาลที่ถูกต้องตามหลักวิชา จะต้องอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร รวมทั้ง อำนาจอื่นๆ ทั้งปวง เพราะอำนาจศาลเป็น อำนาจอธิปไตย
            ตามหลักของ “ระบบรัฐสภา” ศาลเป็นใหญ่เป็นอิสระ ถ้ามีปัญหาว่ากฎหมายจะขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญ ศาลย่อมเป็นผู้ชี้ขาด มิใช้ให้ ตุลาการรัฐธรรมนูญ ชี้ขาด เพราะคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกลไกของรัฐสภามิใช่ศาล โดยเฉพาะยังเอาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาทำลาย ยุบพรรคการเมืองอีกด้วย จึงยิ่งผิดหน้าที่ยิ่งขึ้น ทำให้เกิดเป็นอำนาจนิติบัญญัติเข้ามาทำหน้าที่ตุลาการ ผิดหลักระบบรัฐสภา ทำให้เสียดุลในดุลของระบบรัฐสภาเป็นรัฐล้มเหลว (ศาลการเมือง) ยักษ์ไร้ กระบอง
            การจัดตั้งศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญขึ้นโดยนักวิชาการอ้างว่า เพื่อให้มีศาลปกครองและ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้เป็นอิสระจากศาลสถิตยุติธรรมนั้น ผิดหลักวิชาการอย่างร้ายแรง

ศาลรัฐธรรมนูญ

            รัฐธรรมนูญ 2475 มาตรา 58 บัญญัตไว้ว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ท่านว่าเป็นอำนาจ ของศาลโดยเฉพาะ”
            บทบัญญัตินี้ ถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับหลักของ “ระบบรัฐสภา” และ รัฐธรรมนูญ ที่บอกว่า ศาลเป็นใหญ่เป็นอิสระ เพราะอันที่จริงตามหลักของระบบรัฐสภา ศาลย่อมเป็น ผู้ชี้ขาดอยู่แล้ว คือมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี แล้วยังบัญญัติไว้อีกด้วยว่า “เป็นอำนาจของศาล โดยเฉพาะ” แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันตัดคำว่า “โดยเฉพาะ” ออกเสียเหลือเพียง “การพิจารณา พิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล…” (197)
            การที่เอาโดยเฉพาะออกเสีย ก็เพราะผู้ร่างแบ่งอำนาจของศาล ไปให้กับ “รัฐสภา” เสียบ้างคือ ต้องการเอาคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น “ศาล” เสียบ้าง และยังเอา “ศาล” เป็น “ผู้บริหาร” เสียบ้าง เช่น เป็นผู้ออกกฎหมายจับกุมผู้กระทำความผิด รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้ความเป็นอิสระของ ศาลถูกทำลายลงไปจนหมดสิ้น ทำให้ศาลซึ่งเป็น “อำนาจสุดท้าย” ในการถือดุลในดุล เสียดุลจนหมด สิ้น มันจึงเป็น “ระบบรัฐสภา” ที่ตลกที่สุดในโลก ปัญหาที่เกิด วิกฤติทั่วไป (General Crisis) ในบ้าน เมืองของเราขณะนี้ ก็เพราะนักวิชาการและนักการเมืองไม่เคารพหลักวิชานั่นเอง


ความหมายของคำว่า ลัทธิอนาธิปไตย


ความหมายของคำว่า  ลัทธิอนาธิปไตย

            คำว่า อนาธิปไตย มาจากคำว่า “อน” บวกกับคำว่า “อธิปไตย” แปลว่า “ไม่มีอธิปไตย” คำว่า “อน” แปลว่า “ไม่มี” คำว่า “อธิปไตย” แปลว่า “อำนาจการปกครอง” หรือ อำนาจของรัฐบาล (โดย ปกติคำว่า “ไม่” ต้องใช้ “อ” แต่ถ้าไปใช้นำหน้าคำที่มี “อ” ด้วยต้องแผลงเป็น “อน”)
            อนาธิปไตย จึงแปลว่า ไม่มีอำนาจการปกครอง คำนี้แปลมาจากคำอังกฤษว่า “Anarchy” ซึ่งมา จกาคำกรีกว่า “AN” แปลว่า “ไม่มี” กับคำว่า “Arkhes” แปลว่า “ผู้ปกครอง” บวกกันเป็น Anarchy แปลว่า ไม่มีผู้ปกครอง (Without Ruler) และเมื่อมาเป็นภาษาอังกฤษว่า Anarchy จึงแปลว่า “ว่าง รัฐบาล” (Absence of Government)
            ฉะนั้น คำไทยว่า “อนาธิปไตย” จึงตรงกับ Anarchy เผงที่เดียวทั้งความหมายและรากศัพท์ ซึ่ง ตรงกับคำไทยเดิมคำหนึ่งว่า “บ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป” ขื่อแป ก็คือ อุปมาของรัฐบาล ไม่มีขื่อไม่มีแป จึงหมายความว่า ไม่มีรัฐบาล หรือมีรัฐบาลก็เหมือนไม่มี คำว่าไม่มีขื่อไม่มีแป จึงตรงกับคำว่า อนาธิปไตย
            การเลือกตั้งในบ้านเราทุกครั้ง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นการเลือกตั้งที่นำไป สู่อนาธิปไตยทุกครั้ง (ล้มเหลวทุกครั้ง) แต่กลับมีคนเห็นว่าเป็นประชาธิปไตยไปได้ทุกครั้ง ทั้งๆ ที่เป็น อนาธิปไตยทุกครั้ง
            ลัทธิอนาธิปไตย (Anarchism) เป็นอุดมคติอย่างหนึ่ง หมายถึง สังคมที่ไม่ต้องมีการปกครอง หรือไม่ต้องมี “รัฐบาล” (Government) เป็นสังคมที่สมบูรณ์ด้วย “เสรีภาพของบุคคล” ยังผลให้ คุณค่าแห่งมนุษย์ ได้เผยโฉมหน้าอย่างเต็มดวง เพรียบพร้อมด้วยความไพบูลย์ทางวัตถุ และความเจริญ ทางจิตใจ ลัทธินี้เมื่อดูไปแล้วก็คงจะเป็นสังคมที่ไม่ต่างไปจาก พระศรีอารย์ นั่นเอง
            ในปัจจุบัน ลัทธิอนาธิปไตยถือเป็นลัทธิแห่งความเพ้อฝันไม่ใช่ใฝ่ฝัน เป็นเพียงคำแปลตามตัว อักษร ดังนั้น อนาธิปไตยในฐานะที่เป็น “ลัทธิ” (Doctrine) จึงแทบจะไม่มีเหลืออีกแล้ว ยังคงเหลือแต่ อนาธิปไตย (Anarchy) ที่เป็น ระบอบการปกครองเท่านั้น
            ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) และระบอบอนาธิปไตย (Anarchy Regime) ต่างก็ ยกย่อง “เสรีภาพของบุคคล” (Freedom of the People) เหมือนกัน โดยต่างก็ถือเอา เสรีภาพทาง ความคิดเป็นรากฐานของเสรีภาพทั้งปวงด้วยกัน
            แต่ต่างกันที่ ระบอบประชาธิปไตยนั้น เสรีภาพของบุคคล ต้องประกอบด้วย อำนาจอธิปไตย ของปวงชน เสมอ ส่วนระบอบอนาธิปไตยเป็นเสรีภาพของบุคคลที่ปราศจากอำนาจอธิปไตยของ ปวงชน

ทางสายกลางความเป็นกลาง



ทางสายกลางความเป็นกลาง

            คำว่า “เป็นกลาง” กับคำว่า “สายกลาง” มีความหมายไม่เหมือนกัน ทั้งในเรื่องการเมือง ศาสนา และเรื่องธรรมดาทั่วไป
            “เป็นกลาง” (Neutral) นั้นจะเกี่ยวกับเรื่อง ข้อขัดแย้ง เสมอไป ถ้าไม่มีความขัดแย้งความเป็น กลางก็มีขึ้นไม่ได้ เช่น ถ้ามีคนทะเลาะกัน มีอีกคนหนึ่งไม่เข้าใจ เข้าไปห้ามทั้งสองข้างไม่ให้ทะเลาะ กัน คนๆ นั้นก็เป็นกลางระหว่าง 2 ฝ่าย
            “สายกลาง” นั้น เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป คือ เรื่องของการกระทำที่ไม่ตึงไม่หย่อนในทุกเรื่อง เรียก ว่า “ความพอดี” (Moderation) ความพอดีทำให้เกิด “ความสมดุล” ทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา”
            ทางสายกลางก็เอาไปใช้กับความเป็นกลางได้ คือ เป็นกลางด้วยการเดินสายกลาง ก็จะแก้ปัญหา ความขัดแย้งนั้นได้ เช่นกันคือ แก้ปัญหาในแบบไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป เช่น เห็นคนทะเลาะ กันแล้วนิ่งเฉย เพราะถือว่าเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดอย่างนี้ เรียกว่า “หย่อนเกินไป” ไม่พอดี หรือ ถือ ว่าเป็นกลางแล้วห้ามไม่เชื่อ กระโดดเข้าชกปากข้างโน้นทีข้างนี้ที เพื่อบังคับให้เขาเลิกทะเลาะกันอย่าง นี้ก็ “ตึงเกินไป” แก้ปัญหาไม่ได้ แต่ถ้าเข้าไปห้ามทั้ง 2 ข้างด้วยเหตุผลอย่างเหมาะสมให้เลิกทะเลาะกัน และปรับความเข้าใจกันได้อย่างพอดี ก็เรียกว่า สายกลาง
            ทางสายกลางนี้ เป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็น หลักธรรมแรกของพระพุทธศาสนาจาก “ปฐมเทศนา” แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วย “อุโภอันเต” ที่สุด 2 อย่าง และ มัชฌิมาปฏิปทา โดยโยคีอัญญาโกณฑัญญะ ดวงตาเห็นธรรมเป็นอรหันต์องค์แรก

การปฏิวัติของประชาชน



การปฏิวัติของประชาชน

            มีผู้สงสัยมากว่า ที่ว่าเป็น การปฏิวัติของประชาชนนั้น หมายความว่าอย่างไร เพราะการปฏิวัติ ของคณะราษฎรประชาชนเขาก็อยู่เฉยๆ ไม่เห็นว่าประชาชนจะได้ทำการปฏิวัติอะไรเลย
            การปฏิวัติของประชาชนหมายความว่า เป็นความต้องการของประชาชน ความต้องการของ ประชาชนคือ “มติมหาชน” ถึงแม้จะอยู่เฉยๆ ก็มีพลังยิ่งใหญ่ กระแสปฏิวัตินั้นรู้สึกได้
            ในสถานการณ์ที่ประชาชนต้องการปฏิวัตินั้น บุคคลใดหรือคณะบุคคลใดก็ตามที่รับความ ต้องการนั้นของประชาชนไปปฏิบัติเพื่อบรรลุความต้องการ เขาก็เป็น “ผู้แทนของประชาชน” และเป็น “ผู้นำการปฏิวัติของประชาชน” ทั้งนี้เพราะประชาชนปฏิวัตินั้นต้องมี “ผู้นำ” ซึ่งอาจเป็นบุคคล ประเภทไหน ระดับไหนก็แล้วแต่สภาวการณ์ อาจนำโดยพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ เช่น ญี่ปุ่น
            พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี ผู้นำคนหนึ่งของคณะราษฎรเขียนถึงเงื่อนไขของความสำเร็จของการ ปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ไว้ว่า “ประการหนึ่งด้วยความสนับสนุนของประชาชนชาวไทย เนื่องด้วยวิกฤตกาลในการคลัง การเงินและการเศรษฐกิจของประเทศไทยยุคนั้นปั่นป่วน ต้องดุล ข้าราชการกันหลายครั้งหลายหน ส่วนชั้นผู้ใหญ่ก็อยู่ในเกณฑ์ยกเว้นไม่เป็นธรรม การครองชีพฝืดเคือง ข้าวยากหมากแพง บ้านเมืองอยู่ในฐานะซบเซา ประชาชนรู้สึกปริวิตกและอิดหนาระอาใจทั่วกัน เพราะฉะนั้น เมื่อมีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น ก็ได้รับความสนับสนุนโดยมุ่งหวังจะ เป็นทางแก้ไข บรรเทาความวิบัติให้คลี่คลายและฟื้นฟูบ้านเมืองได้” (จากหนังสือ ชีวิต ธ แผ่นดินของ ข้าพเจ้า)


การปฏิวัติสันติ



            การปฏิวัติสันติ มีผลในทางเปลี่ยนแปลงวัตถุด้านเดียว
            แต่การปฏิวัติสันติเท่านั้น นอกจากจะมีผลในทางเปลี่ยนแปลงวัตถุแล้ว ยังมีผลในทางเปลี่ยน แปลงจิตใจอีกด้วย
            ถ้าประเทศใดประชาชนทำการปฏิวัติสันติได้สำเร็จ ก็คือ การปฏิวัติมนุษย์ (Human Revolution)
            การปฏิวัติมนุษย์ เป็นประตูทองไปสู่ “ยุคมนุษยธรรม” แก้ปัญหาประเทศได้แล้ว ยังช่วยแก้ ปัญหาโลกและมนุษยชาติที่ใกล้จะถึงทางตัน (ของยุคทุนนิยม) ได้อีกด้วย
            แนวทางรุนแรงเป็นพลังชนิด “หยาบ” ย่อมมีกำลังน้อย แนวทางสันติเป็นพลัง “ปราณีต” ย่อม มีกำลังมาก (หลักการจัดกำลังในวิชายุทธศาสตร์)
            ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมเริ่มต้นขึ้นในราวศตวรรษที่ 15 เมื่อมาถึงทุกวันนี้มันเริ่มเข้าสู่วัยชรา ใกล้แตกดับ ประเทศมหาอำนาจที่เคยมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจกลับกลายเป็นประเทศที่มีหนี้ สาธารณะท่วมล้น และแก้ไม่ได้ ยุโรปและอเมริกาเหนือใกล้ล้มละลาย หาทางแก้ไม่ได้ มาตรการที่ เคยใช้ได้ผลมา  500ปี ในการแก้วิกฤติเศรษฐกิจกลับดื้อยา เพราะยังไม่รู้ตัวว่ามันกำลังสิ้นยุคทุนนิยม แล้ว แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้


ทฤษฎีปฏิวัติถาวร

            ในระบบสังคมนิยมนั้น เดิมที่ก็เข้าใจกันว่าจะต้องรบกับระบบเสรีนิยมตลอดไป เพราะความ เข้าใจเช่นนี้ ถึงกับมีผู้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาทฤษฎีหนึ่ง เรียกว่า “ทฤษฎีถาวร” (Permanent Revolution)
            ทฤษฎีนี้มีใจความว่า เมื่อระบบสังคมนิยมชนะในประเทศรัสเซียแล้ว ก็ต้องยกกองทัพบุกตะลุย เข้าไปในประเทศเสรีนิยม เพื่อช่วยชนกรรมาชีพของประเทศเหล่านั้นทำการปฏิวัติให้สำเร็จติดต่อกัน ไปจนตลอดโลก โดยไม่มีการหยุดเลย จึงเรียกว่า การปฏิวัติถาวร คือต้องทำสงครามปฏิวัติเรื่อยไปไม่มี หยุดทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีของ “ทรอตสกี้”
            แต่เลนินไม่เห็นด้วย โดยสรุปว่า ถึงแม้ระบบเสรีนิยมกับระบบสังคมนิยมโดยธรรมชาติจะอยู่ ร่วมโลกกันอย่างสันติภาพไม่ได้ก็จริงอยู่ แต่ก็มีเงื่อนไขที่ประเทศสังคมนิยมจะสามารถใช้นโยบายให้  2 ระบบนี้อยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติภาพได้ เหมือนกับการเอาคน 2 คนที่เป็นคู่อาฆาตกันมาอยู่ในห้อง เดียวกันได้นั้น มีวิธีที่จะทำให้ไม่ชกกันได้เป็นวิธีการพิเศษ ซึ่งไม่ศัพท์อื่นที่จะเหมาะกับความหมายนี้ มากไปกว่า “อยู่ร่วมกันโดยสันติภาพ” (Peaceful Co-Existence)


ราชอาณาจักร


ราชอาณาจักร

            ราชอาณาจักร (Kingdom) เป็นรูปของรัฐในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมี 2 รูป
            1. รัฐเดียว (Unitary State)
            2. หลายรัฐ (Multi-State)
            รัฐเดียว เรียกว่า “ราชอาณาจักร” เช่น อังกฤษเรียกว่า สหราชอาณาจักร (Unitary Kingdom) ญี่ปุ่นเป็นแบบจักรวรรดิ (Empire)
            หลายรัฐ เรียกว่า สาธารณรัฐ (Republic) เช่น สหรัฐ หรือ รัฐบาลสหพันธ์ (Federal Government) รัฐบาลแห่งรัฐ หรือรัฐบาลมลรัฐ (State Government) รัฐบาลที่ถือดุล เรียกว่า รัฐบาล กลาง
            ตามหลักวิชาของประเทศรัฐเดียว ต้องใช้หลักรวมศูนย์อำนาจการปกครอง (Centralization of Administrative Power) จึงจะสามารถรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของราชอาณาจักรไว้ได้
            ประเทศหลายรัฐต้องใช้หลัก กระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization of Administrative Power) จึงจะสามารถรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของรัฐบาลสหพันธ์เอาไว้ได้
            ประเทศรัฐเดียวผู้ว่าราชการจังหวัดต้องแต่งตั้งเท่านั้น และมีอำนาจสั่งการตำรวจโดยตรง ในเขตปกครองไม่ใช่ศาล


ผู้ถือดุล


ผู้ถือดุล

            “ระบบ” (System) ทุกระบบ ตั้งแต่ใหญ่ที่สุดจนถึงเล็กที่สุด ตั้งแต่ “เอกภพ” (Universe) จนถึง “ปรมาณู” (Atomic) ทั้งที่เป็นรูปธรรม (Concrete) และเป็นนามธรรม (Abstract) จะดำรงความเป็น ระบบอยู่ได้ ต้องมี ความสมดุล (Balance) หรือมีดุลยภาพ (Equilibrium) และในดุลยภาพนั้นต้องมี “ผู้ถือดุล”
            ผู้ถือดุลของระบบที่ใหญ่ที่สุด คือ เอกภาพ ก็คือ “ความว่าง” หรือ “ศูนย์” (Zero) ซึ่งทาง พระพุทธศาสนา เรียกว่า “สูญญตา” และเรียกความสมดุลนั้นว่า “มัชฌิชาปฏิปทา” (Moderation) เรียกเป็นไทยว่า “ทางสายกลาง” ผู้ถือดุลของระบบที่ใหญ่รองลงมาคือ “สุริยระบบ” (Solar System) ก็คือ ดวงอาทิตย์
            ความสมดุลเกิดจากการถ่วงดุล แต่มักจะมีความเข้าใจกันว่า การถ่วงดุลนั้น หมายถึง แต่ละส่วน ในระบบมีกำลัง หรืออำนาจเท่าๆ กัน แน่นอนบางส่วนมีกำลังหรือมีอำนาจเท่ากัน หรือมากน้อยกว่า กันไม่มาก แต่จะต้องมีส่วนหนึ่งมีอำนาจหรือมีกำลังมากที่สุด ครอบงำส่วนอื่นๆ ไว้ทั้งหมด จึงจะ ทำให้การถ่วงดุลระหว่างส่วนต่างๆ เกิดความสมดุล และดำรงความเป็น “ระบบ” (System) นั้นๆ อยู่ได้
            การถ่วงดุลในระบบสุริยะจักรวาล ดาวพระเคราะห์ต่างๆ มีกำลังมากน้อยกว่ากันไม่มาก แต่ ดวงอาทิตย์มีกำลังมากที่สุดเป็นตัวหลักให้เกิดการถ่วงดุล และดำรงความเป็นดุลยภาพของของ สุริยระบบไว้ได้ ถ้าดวงอาทิตย์เกิดสูญเสียกำลังที่ควรมี สุริยระบบก็จะแตกสลายทันที
            ดุลแห่งอำนาจระหว่างมหาประเทศก็เช่นเดียวกันจะดำรงความเป็นระบบอยู่ได้ ก็ต้องมีประเทศ หนึ่งเป็น ผู้ถือดุล อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อิตาลี อาจมีอำนาจเท่าๆ กัน แต่ต้องมีประเทศหนึ่งมีอำนาจ มากกว่าเพื่อน คือ สหรัฐ จึงจะรักษาดุลแห่งอำนาจไว้ได้ ถ้าสหรัฐอำนาจลดลงเท่ามหาอำนาจอื่น หรือ มหาอำนาจอื่นมีอำนาจเพิ่มขึ้นเท่าสหรัฐ จะเสียดุลแห่งอำนาจ และเกิดสงครามทันที
            ผู้ถือดุลจึงหมายถึงส่วนที่มีอำนาจมากที่สุดในระบบหนึ่งๆ และนี่คือรากฐานของความรู้ว่าด้วย “ระบบ” ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
            คำว่า “ระบบอะไร” ตามหลักวิชาจึงมีความหมายว่าใครเป็นผู้ถือดุล หรือใครเป็นผู้มีอำนาจมาก ที่สุด เช่น ระบบสุริยจักรวาล หมายถึงดวงอาทิตย์เป็นผู้ถือดุล ระบบประชาธิปไตย หมายถึง ประชาชน เป็นผู้ถือดุล ระบบรัฐสภา หมายถึง “สภาผู้แทนราษฎร” เป็นผู้ถือดุล เป็นต้น
            “ระบบรัฐสภา” (Parliamentary System) หมายถึง สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) เป็น “สถาบันหลักทางการเมือง” หรือ เป็น “ผู้ถือดุล” ทางการเมือง เป็นระบบ (Fusion of Powers)
            “ระบบประธานาธิบดี” (Presidential System) หมายถึง ประธานาธิบดี (President) เป็นสถาบัน หลักทางการเมือง หรือเป็นผู้ถือดุลทางการเมือง
            “ระบบกึ่งประธานาธิบดี” (Semi-Presidential System) หมายถึง เป็นระบบกึ่งแยกอำนาจ (Semi-Separation of Powers) เป็นผู้ถือดุล
            ผู้ถือดุล หรือสถาบันทางการเมือง ย่อมมีอำนาจมากกว่าสถาบันอื่น จึงต้องมาจากการเลือกตั้ง เช่น ระบบรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมาจากการเลือกตั้ง ระบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดีจึงต้องมาจากการเลือกตั้ง สถาบันอื่นที่ไม่ใช่สถาบันหลักทางการเมืองไม่จำเป็นต้อง เลือกตั้ง
            แต่บ้านเราเลือกตั้งกันทุกสถาบันแล้ว ยังเอาวุฒิสภาเป็นผู้ถือดุลอีก จึงไม่รู้ว่าเราใช้ระบบอะไร แม้แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็ยังไม่รู้ เวรกรรมประเทศไทย ทำให้การปกครองระส่ำระสาย ไร้เสถียรภาพ แก้ไม่ตก


ความหมายของ ระบบ และ ระบอบ



ระบบ และ ระบอบ

            คำว่า “ระบบ” กับ “ระบอบ” ในทางการเมืองไม่เหมือนกัน “ระบบ” (System) หมายถึง “รูปของการปกครอง” (Form of Government) “ระบอบ” (Regime) หมายถึง “หลักการปกครอง” (Principle of Government)
            ระบบ และระบอบ ประกอบกันเป็น “การปกครอง” (Government) ระบอบเป็น หลักการ ปกครอง ระบบเป็นรูปการปกครอง เรียกเป็นคำธรรมดาว่า ระบอบเป็น “เนื้อหา” (Content) ระบบเป็น “รูปแบบ” (Form) การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) จึงประกอบด้วย “เนื้อหา” และ “รูปแบบ”
            ไม่ว่าในสิ่งหรือปรากฏการณ์ใดๆ เนื้อหากับรูปแบบย่อมเป็น “เอกภพ” กัน แยกออกจากกัน มิได้ ถ้าเนื้อหากับรูปแบบแยกออกจากกัน ก็จะไม่มีสิ่งหรือปรากฏการณ์นั้นๆ
            ถ้าหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย กับรูปการปกครองแยกออกจากกัน ก็จะไม่มี การ ปกครองแบบประชาธิปไตย หลักการปกครองมี 2 
ระบอบคือ ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) กับ ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) 
รูปการปกครองมีรูป คือ ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) และระบบผสมกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) 

ขบวนการของชนชั้นกลาง


ขบวนการของชนชั้นกลาง

            ในประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Middle Ages) ลัทธิเจ้าครองนคร (Feudalism) เศรษฐกิจเป็น ระบบฟิลดัลล้วนๆ และมีการเมืองเป็น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (เผด็จการแบบเก่า) ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา เศรษฐกิจทุนนิยมก็แตกหน่อขึ้นภายในระบบเศรษฐกิจฟิลดัล ซึ่งเป็น เศรษฐกิจเพียงพอแก่การใช้เองทำเอง (Self-Sufficiency Economy) ผู้ประกอบเศรษฐกิจทุนนิยม คือบุคคลที่เรียกว่า ชนชั้น กลาง (Bourgeoisie) หรือ “นายทุน” (Capitalists)
            เศรษฐกิจ การเมือง และความคิด ระหว่าง ลัทธิเจ้าครองนคร กับ ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) มี ความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สองชนชั้นนี้หรือสองฐานันดรนี้ จะต้องต่อสู้กันอย่างรุนแรง เพื่อทำลาย ซึ่งกันและกัน
            ด้านเศรษฐกิจ พวกฟิวดัลจะรักษาระบบเศรษฐกิจฟิวดัลไว้ และขัดขวางความเติบโตของ เศรษฐกิจทุนนิยม พวกชนชั้นกลางก็มุ่งทำลายระบบฟิวดัลในฐานะเป็นผู้ขัดขวางความเติบโตของ เศรษฐกิจทุนนิยม
            ด้านการเมือง พวกฟิวดัลจะรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือ ระบอบเผด็จการระบบ รัฐสภาไว้ พวกชนชั้นกลางมุ่งโค่นระบอบเผด็จการ และเอาระบอบประชาธิปไตยเข้าแทนที่ เพราะ ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) เป็นลัทธิของชนชั้นกลาง
            ด้านความคิด พวกฟิวดัลซึ่งเป็นขบวนการล้าหลัง (Backward) และเป็นขบวนการปฏิกิริยา (Reactionary Movement) รักษาลัทธิอนุรักษ์นิยม (Conservativism) เช่น ส่งเสริมเทวสิทธิ์ของพวก ฟิวดัล ส่งเสริมปรัชญาจิตนิยม และยกข้ออ้างปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อปราบปรามทำลาย พวกชนชั้นกลาง พวกชนชั้นกลางเผยแพร่ลัทธิเสรีนิยม เช่น วิพากวิจารณ์ระบอบพระมหากษัตริย์ และระบบฟิวดัล วิจารณ์ศาสนาเป็นยาเสพติด (ในอังกฤษ) เผยแพร่ปรัชญาวัตถุนิยม ในอังกฤษพวก ชนชั้นกลางสามารถเอาชนะฟิวดัลได้ในศตวรรษที่ 17 หลังจากหันมาร่วมมือกับ “กรรมกร” ในรูปของ ขบวนการประชาธิปไตย
            ขบวนการของชนชั้นกลาง ประกอบด้วย 3 ขบวน คือ
            1. ขบวนการประชาธิปไตย (Democratic Movement) เป็นขบวนการที่มีกรรมกรเข้าร่วม มี ความมุ่งหมายสถาปนาระบอบประชาธิปไตย
            2. ขบวนการรัฐธรรมนูญ เป็นขบวนการที่มีความมุ่งหมายสร้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลเป็นการ สร้างการปกครองแบบเผด็จการ
            3. ขบวนการชาตินิยม (Nationalist Movement) เป็นขบวนการที่มีความมุ่งหมายเพื่อ เอกราช ของชาติ ขบวนการนี้จึงอาจเป็นขบวนประชาธิปไตยก็ได้ ขบวนเผด็จการก็ได้ ขบวนการสังคมนิยม ก็ได้ ชาตินิยมจึงมีอยู่ในทุกขบวนการเมือง

หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย


หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย

            อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ได้กล่าวสุนทรพจน์ สดุดีทหารหาญที่เสียชีวิตที่เมือง Gettysburg เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1863 ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ ได้พูดถึงการปกครองของสหรัฐอเมริกาว่าเป็น การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Regime) เพราะเป็น การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยประชาชน เพื่อประชาชน -- Government of the People, by the People, for the People
            จากคำกล่าวของท่านอับราฮัมลินคอล์นครั้งนี้ เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการทั่วไปว่า เป็นคำ จำกัดความของ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย (Principle of Government) ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ที่สุด และถือเป็นหลักมาจนถึงทุกวันนี้
            ของประชาชน คือ อำนาจอธิปไตยของประชาชน (Sovereignty of the People)
            โดยประชาชน คือ รัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected Government)

                                                            เสรีภาพ (Freedom)
            เพื่อประชาชน คือ                    ความเสมอภาค (Equality)
                                                            หลักนิติธรรม (Rule of the Laws)


หลักนิติธรรม

            หลักนิติธรรมเป็นหลักที่ได้ยึดถือกันมาแต่โบราณ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เรียกหลักนี้ ว่า “พระธรรมศาสตร์” ส่วนการออกกฎหมายของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ซึ่ง ราชศาสตร์จะต้องไม่ขัด หรือขัดแย้งกับพระธรรมศาสตร์ คือ การออกกฎหมายใดๆ ต้องไม่ขัดต่อหลัก นิติธรรม
            ในทางวิชาการแบ่งกฎหมายออกเป็น 3 ระดับ
            1. กฎหมายสามัญ (Common Law) ได้แก่ กฎหมายทั่วไป เช่น ประมวลกฎหมายต่างๆ และ กฎหมายระดับต่างๆ
            2. กฎหมายแม่บท (Principle Law) ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเป็น แม่บทสำหรับการออกกฎหมายทั่วไป
            3. กฎหมายสูงสุด (Supreme Law) คือ หลักของกฎหมาย (Rule of Law) หรือหลักที่กฎหมาย อื่น รวมทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญจะต้องยึดถือ เพราะเป็นหลักที่ใช้ออกกฎหมายทุกชนิด กฎหมายใดๆ จะต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม หรือหลักกฎหมาย
            หลักเหล่านี้ได้แก่ การกระทำใดเป็นความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ จะออกกฎหมายย้อน หลังให้เป็นโทษแก่บุคคลมิได้ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมถือว่ายังมิได้กระทำความผิดจนกว่าศาลจะมีคำ พิพากษา ความมั่นคงของชาติเป็นกฎหมายสูงสุด จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการประกันตัว ศาลจะลงโทษ เกินกว่ากฎหมายกำหนดมิได้ ความเป็นอิสระของศาล หลักทศพิธราชธรรมเป็นหลักกฎหมาย




ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่?



ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ใช่หรือไม่?


            ปัญหาที่แก้ไม่ตกปัญหาหนึ่งของบ้านเมืองเราก็คือ ความเข้าใจว่า ระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง และยังเข้าใจว่าการให้มีการเลือกตั้งทุกระดับ หรือกระจายการเลือกตั้งคือ การกระจาย อำนาจ กระทั่งเข้าใจว่าการเลือกตั้งเป็นกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย ก็ยิ่งเป็นความเข้าใจผิดของพี่น้อง ประชาชนอย่างมหันต์
            การเลือกตั้งไม่ใช่วิธีการกระจายอำนาจ แต่เป็นทั้งวิธีการของการรวมอำนาจการปกครอง (Centralization of Administrative Power) ของประเทศรัฐเดียว (Unitary State) และของ การ กระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization of Administrative Power) ของประเทศหลายรัฐ (Multi-State) ในการรักษาและกระชับอำนาจการปกครองนั้นๆ
            การเลือกตั้งนั้นเป็นเพียงวิธีได้อำนาจซึ่งดูเหมือนเป็นความชอบธรรม แต่ความชอบธรรมนั้นอยู่ ที่การใช้อำนาจต่างหาก คือ เพื่อประชาชน หรือเพื่อคนรวย ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งตัวของมันเองเป็น วิธีการประชาธิปไตย (Democratic Means) แต่ถ้าดูผิวเผินก็นึกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime)
            ถ้าเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตยได้แล้ว การเลือกตั้งยิ่งมากยิ่งดี แต่ในทาง กลับกันในระบอบเผด็จการ ยิ่งมีเลือกตั้งมากเพียงใดก็จะยิ่งส่งเสริมระบอบเผด็จการมากขึ้นเพียงนั้น
            ความเข้าใจที่ว่า การกระจายอำนาจ คือประชาธิปไตยนั้น ก็ถูกต้องอยู่ แต่ต้องเข้าใจว่า อำนาจ ที่ต้องกระจายนั้นคือ “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) ไม่ใช่ “อำนาจการปกครอง” (Administrative Power)

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วงจรอุบาทว์ทางการเมือง


วงจรอุบาทว์ทางการเมือง

            วงจรอุบาทว์ทางการเมือง ที่ทำให้ประชาชนไม่หลุดพ้นทางการเมือง (Political Emancipation) หรือไม่หลุดพ้นจากระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) การเมืองไทยต้องเวียน ว่ายอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมา 881 ปี การหลุดพ้นนี้เรียกว่า “ปฏิวัติ” (Revolution)
            ขบวนการที่ทำให้ประชาชนต้องวนเวียนอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการคือ “ขบวนการ รัฐธรรมนูญ” โดยขบวนการดังกล่าว เข้าแย่งชิงกันกุมอำนาจการปกครองแบบเผด็จการรัฐสภา ด้วย วิธีการ 2 อย่างคือ “ยึดอำนาจ” และ “เลือกตั้ง” โดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นข้อ อ้างในการโค่นล้มกัน แล้วเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของพวก ตน และทำการเลือกตั้งกันใหม่ เมื่อเลือกตั้งแล้วและตกลงกันไม่ได้ในการแบ่งปันผลประโยชน์ จึงต้อง โค่นล้มและเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญกันใหม่ หมุนเวียนเป็น “วัฏจักร” ระหว่างการโค่นล้มด้วย กำลังหรือยึดอำนาจกับการเลือกตั้ง โดยมีรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงใหม่เป็น “แกนกลาง” ของ การหมุนเวียน เพราะถือเอารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสูงสุดตามธรรมชาติของขบวนการรัฐธรรมนูญเรียกว่า “วงจรอุบาทว์” เมื่อประชาชนไม่เอาขั้วรัฐประหาร ก็สลับขั้วมาไว้ที่เลือกตั้ง การสลับขั้วอำนาจ อธิปไตยของชนส่วนน้อยเช่นนี้ จึงทำให้ระบอบเผด็จการสามารถดำรงอยู่ได้ การทำลายวงจรอุบาทว์ ก็คือไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

การเมืองคืออะไร


การเมืองคืออะไร

            นักปราชญ์สมัยกรีกกล่าวไว้ว่า “คนคือสัตว์การเมือง” คำกล่าวนี้ถูกต้องมาก เพราะเป็นการขีด เส้นแบ่งชัดเจนระหว่าง “คน” กับ “สัตว์”
            “การเมือง” (Politics) เป็น “คุณสมบัติพิเศษ” ของคน เพราะคุณสมบัติพิเศษของคนนั่นแหละ ที่ทำให้คนต่างกับสัตว์ กล่าวคือ คนมีการเมือง สัตว์ไม่มีการเมือง คนสามารถสร้างอะไรได้สารพัด แต่สัตว์ไม่สามารถสร้างได้ ทางพุทธศาสนาก็แบ่งคนกับสัตว์ไว้เช่นกัน โดยเรียกคนว่า “เวไนยสัตว์” คือ รู้ธรรมได้
            การเมือง มีความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนรวมเป็นใหญ่ ปฏิเสธความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนตัวเป็นใหญ่
            คนคือสัตว์การเมือง จึงหมายความว่า คนคือสัตว์ที่มีความมุ่งหมายเพื่อส่วนรวมเป็นใหญ่ ถ้า ใครมีความมุ่งหมายเพื่อส่วนตัวเป็นใหญ่ คนนั้นก็ไม่ใช่สัตว์การเมือง ก็คือไม่ใช่คน ตรงกับคำโบราณ ที่ว่า “คอหยักหยักสักแต่ว่าเป็นคน” การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของ คน และนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “การเมือง” สื่อมวลชนว่า สภามีแต่ เสือสิงห์กระทิงแรด ก็ หมายความว่า ในสภาไม่มี นักการเมือง
การทำงานการเมือง

            การทำงานการเมือง ไม่เหมือนการทำมาค้าขาย การลงทุนค้าขาย ซึ่งลงทุนผิดก็ล้มละลายแต่ ตัวเองเท่านั้น
            แต่การทำงานการเมือง ถ้าทำการเมืองผิด หรือทำโดยปราศจาก ความรู้ทางวิชาการเมือง นั้น ไม่เพียงแต่ตัวเองจะล่มจมคนเดียวเท่านั้น หากแต่ยังทำให้ประเทศชาติและประชาชนวินาศล่มจมตาม ไปด้วย
            การเมืองเป็นปรากฏการณ์สังคมอันสูงส่ง สูงส่งเป็นอันดับสองรองจากศาสนา ในขณะที่ ศาสนามีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติสุขของสรรพสัตว์ แต่การเมืองมีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติ สุขของประชาชนและมนุษยชน เรื่องของการเมืองจึงเป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของประชาชน ทุกคน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของอาชีพ นักการเมืองอาชีพจึงไม่มี เมื่อนักเลือกตั้งหรือรัฐบาล ถูกตำหนิ ถูกด่าถูกขับไล่ หรือได้รับการดูถูกเหยียดหยามจึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องประชาชน หรือทำร้าย ประชาชน
            การเมืองคือลมหายใจ คือเส้นเลือดเส้นชีวิตของมนุษย์ การทำงานการเมืองเป็นภารกิจที่สำคัญ ยิ่ง ทุกคนจึงจำเป็นต้องทำตลอดไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ เป็นอกาลิโก โดยเฉพาะคือ ขับไล่เผด็จการ รัฐสภา
การเมืองนำการทหาร

            บุคคลเป็นอันมากถาม อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ซึ่งเป็นเจ้าของความคิด “IDEA” อันเป็นที่มาของ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ว่า “นโยบาย 66/2523 เป็นนโยบาย การเมืองนำการทหาร ใช่หรือไม่”
            ท่านตอบว่า “ผมไม่เคยเสนอให้ใช้ นโยบาย (Policy) หรือ ยุทธศาสตร์ (Strategy) การเมืองนำ การทหาร เพราะมันเสนอไม่ได้ เหตุที่เสนอเช่นนั้นไม่ได้ก็เพราะว่า “การเมืองนำการทหาร” ไม่ใช่ นโยบายหรือยุทธศาสตร์ แต่การเมืองนำการทหารมันเป็น “ความจริงแท้” หรือที่เรียกว่า “Reality”
            ความจริงแท้ มันดำรงอยู่เอง นอกจากมันจะอยู่เหนือนโยบายและยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นปัญหา ข้อเท็จจริง (Fact) แล้ว มันยังอยู่เหนือ สัจธรรม (Truth) อีกด้วย ดังนั้น ความจริงแท้ จึงไม่สามารถ เป็นนโยบายหรือยุทธศาสตร์ เพราะมันเป็นรากฐานของนโยบายและยุทธศาสตร์
            นโยบาย 66/2523 จึงไม่ใช้คำว่า การเมืองนำการทหาร มีแต่คำว่า การรุกทางการเมืองอย่าง ต่อเนื่อง หมายถึง การรุกในการขยายเสรีภาพของบุคคลและการขยายอธิปไตยของปวงชนอย่างต่อ เนื่องนั่นเอง
ชนชั้นอิสระทางการเมือง

            ปลายศตวรรษที่ 19 ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมวิสาหกิจของ “ระบบทุนนิยม” เกิดการ รวมศูนย์ทุน (Centralization of Capital) พัฒนาจากทุนนิยมเสรี (Free Capitalism) เป็นทุนนิยมผูกขาด (Monopoly Capitalism)
            ทำให้ “ชนชั้นกลาง” แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
            1. ชนชั้นกลางเสรี (Liberal Bourgeoisie)
            2. ชนชั้นกลางผูกขาด (Monopoly Bourgeoisie)
            เมื่อรวมกับอีกชนชั้นหนึ่งที่กำเนิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกันในปี 1848 ทำให้ชนชั้นกรรมกรเป็น ชนชั้นอิสระทางการเมือง ซึ่งมาร์กซ์เรียกว่า ชนกรรมาชีพ (Proletariat)
            จึงทำให้เกิดชนชั้นอิสระทางการเมืองขึ้น 3 ชนชั้น
            1. ชนชั้นศักดินา (Feudalists)
            2. ชนชั้นกลาง หรือกฎมพี (Bourgeoisie)
            3. ชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariats)
            ในการต่อสู้กันทางการเมือง ทั้ง 3 ชนชั้นจึงมีการต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย
            แต่บ้านเราในขณะนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มนายทุนผูกขาด 2 กลุ่ม แย่งอำนาจกัน จึงยัง ไม่มีประชาธิปไตยเกิดขึ้น
พรรคการเมือง

            พรรคการเมือง (Political Party) คือ กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลที่ยึดกุมอำนาจรัฐ หรือมีความ มุ่งหมายเพื่อที่จะเข้าไปยึดกุมอำนาจรัฐ นี่คือความหมายย่อๆ และก็ง่ายๆ ของพรรคการเมือง
            รูปของพรรคการเมือง จะมีรูปเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ อาจจะไม่เรียกว่า “พรรค” ก็ได้ อย่าง ขบวนการประชาธิปไตย หรือคณะรัฐประหารจะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้ามีความมุ่งหมายเพื่อที่จะเข้า กุมอำนาจรัฐแล้ว จะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ก็ได้ชื่อว่า มีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ดังนั้น คำว่า พรรคการเมือง หมายถึง สาระสำคัญของมันไม่ได้หมายถึงรูปแบบ หรือวิธีการ
            พรรคการเมืองเกิดมาพร้อมกับ “รัฐ” (State) คือ ประเทศเมื่อมีรัฐก็มีพรรคการเมือง มีรัฐ ปกครอง ประเทศก็ต้องมีพรรคการเมือง ตั้งแต่โบราณเป็นมาอย่างนี้ พรรคเป็นของคู่กับรัฐ
            พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่อยู่เหนือรัฐ เพราะเข้าไปกุมรัฐ พรรคการเมืองจึงอยู่เหนือกฎหมาย ถ้ามีกฎหมายพรรคการเมืองก็คือ กฎหมายกันพวกอื่นกลุ่มอื่นจะเข้าไปกุมรัฐ สมัยกลางพรรคเรียกว่า ราชวงศ์
            พ.ศ. ​2523 ไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง
            พ.ศ.​2544 ออกกฎหมายให้รัฐอยู่เหนือพรรค ซึ่งผิดหลักผิดเกณฑ์ กฎหมายพัฒนาพรรคไม่ได้
กฎหมายรัฐธรรมนูญมีเพียงฉบับเดียวที่กล่าวถึงพรรคการเมืองไว้อย่างถูกหลักถูกเกณฑ์ของ ระบอบประชาธิปไตย คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.​ 2492
            “บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมกันเป็นพรรคการเมือง เพื่อดำเนินการเมืองตามวิถีทาง ประชาธิปไตย และจะนำเอากฎหมายที่ว่าด้วยสมาคมมาใช้กับพรรคการเมืองมิได้”
            พรรคการเมืองจะเกิดขึ้นหรือมีบทบาทได้ จะต้องมี “พระราชบัญญัติพรรคการเมือง” ขึ้นมา รองรับนั้น เป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะแทนที่การรวมตัวทางการเมืองเป็น “พรรคการเมือง” (Political Party) จะเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ของการเป็นประชาชนของประเทศที่ประชาชนทุกคน พึงจะมีโดยกำเนิด ไม่ต้องอาศัยกฎหมายใดๆ มารองรับทั้งสิ้น
            การกำหนดแนวคิดว่า พรรคการเมืองจะมีขึ้นได้มี พรบ. พรรคการเมืองมารองรับนั้น เท่ากับ เป็นแนวคิดที่ต้องมีการควบคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนให้อยู่ในอำนาจของตน อย่างปฏิเสธไม่ได้ และไม่ต้องการให้ใครมาแย่งอำนาจจากตนนั่นเอง พรรคการเมืองบ้านเราจึงเป็นได้ เพียงบริษัทค้าการเมืองที่รวมตัวกันด้วยเงิน (ทุน) แทนที่จะรวมตัวกันด้วยอุดมการทางการเมือง ไม่ยึด นโยบายแต่อยู่ที่บุคคลระดับสูงในพรรคที่มีเงินมาก เป็นผู้กำหนดบทบาทของพรรค





ความผิดทางการเมือง

            ความผิดในทางศาสนา และความคิดในทางการเมืองเป็นเรื่อง “ธรรมาธิปไตย” ไม่ใช่เป็นเรื่อง ของ “โลกาธิปไตย” จึงเป็นความผิดในทางธรรม ไม่ใช่เป็นความผิดทางโลก (ยกเว้นในกรณีถูกแจ้ง ความดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาอื่น)
            ความผิดในทางศาสนาและความผิดในทางการเมือง จึงไม่มีกฎหมายทางโลกลงโทษ เพราะ เป็นโทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
            โดยเฉพาะกฎธรรมชาตินั้น หนักหนาสาหัสกว่าโทษตามกฎหมาย คือเป็นตราบาปไปตลอด ชีวิต แต่โทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
            พระมีความผิดถึงขั้นปาราชิก ต้องพ้นสภาพจากความเป็นพระ เพราะเป็นความผิดพระธรรม วินัย จึงหมดสิทธิ์จะกลับมาบวชใหม่อีกไม่ได้เลยตลอดชีวิต เป็นตราบาปทางจิตใจไปชั่วชีวิต
            ในทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน เมื่อนักการเมืองมีความผิดทางการเมือง ต้องรับผิดชอบทาง การเมืองด้วยการลาออก และถ้ามีความผิดร้ายแรงในทางการเมือง โดยหลักการจะกลับมาเป็นนัก การเมืองอีกไม่ได้เลย แต่ระบอบเผด็จการ นักการเมืองย่อมไม่ถือหลักถือเกณฑ์