วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเมืองคืออะไร


การเมืองคืออะไร

            นักปราชญ์สมัยกรีกกล่าวไว้ว่า “คนคือสัตว์การเมือง” คำกล่าวนี้ถูกต้องมาก เพราะเป็นการขีด เส้นแบ่งชัดเจนระหว่าง “คน” กับ “สัตว์”
            “การเมือง” (Politics) เป็น “คุณสมบัติพิเศษ” ของคน เพราะคุณสมบัติพิเศษของคนนั่นแหละ ที่ทำให้คนต่างกับสัตว์ กล่าวคือ คนมีการเมือง สัตว์ไม่มีการเมือง คนสามารถสร้างอะไรได้สารพัด แต่สัตว์ไม่สามารถสร้างได้ ทางพุทธศาสนาก็แบ่งคนกับสัตว์ไว้เช่นกัน โดยเรียกคนว่า “เวไนยสัตว์” คือ รู้ธรรมได้
            การเมือง มีความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนรวมเป็นใหญ่ ปฏิเสธความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนตัวเป็นใหญ่
            คนคือสัตว์การเมือง จึงหมายความว่า คนคือสัตว์ที่มีความมุ่งหมายเพื่อส่วนรวมเป็นใหญ่ ถ้า ใครมีความมุ่งหมายเพื่อส่วนตัวเป็นใหญ่ คนนั้นก็ไม่ใช่สัตว์การเมือง ก็คือไม่ใช่คน ตรงกับคำโบราณ ที่ว่า “คอหยักหยักสักแต่ว่าเป็นคน” การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของ คน และนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “การเมือง” สื่อมวลชนว่า สภามีแต่ เสือสิงห์กระทิงแรด ก็ หมายความว่า ในสภาไม่มี นักการเมือง
การทำงานการเมือง

            การทำงานการเมือง ไม่เหมือนการทำมาค้าขาย การลงทุนค้าขาย ซึ่งลงทุนผิดก็ล้มละลายแต่ ตัวเองเท่านั้น
            แต่การทำงานการเมือง ถ้าทำการเมืองผิด หรือทำโดยปราศจาก ความรู้ทางวิชาการเมือง นั้น ไม่เพียงแต่ตัวเองจะล่มจมคนเดียวเท่านั้น หากแต่ยังทำให้ประเทศชาติและประชาชนวินาศล่มจมตาม ไปด้วย
            การเมืองเป็นปรากฏการณ์สังคมอันสูงส่ง สูงส่งเป็นอันดับสองรองจากศาสนา ในขณะที่ ศาสนามีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติสุขของสรรพสัตว์ แต่การเมืองมีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติ สุขของประชาชนและมนุษยชน เรื่องของการเมืองจึงเป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของประชาชน ทุกคน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของอาชีพ นักการเมืองอาชีพจึงไม่มี เมื่อนักเลือกตั้งหรือรัฐบาล ถูกตำหนิ ถูกด่าถูกขับไล่ หรือได้รับการดูถูกเหยียดหยามจึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องประชาชน หรือทำร้าย ประชาชน
            การเมืองคือลมหายใจ คือเส้นเลือดเส้นชีวิตของมนุษย์ การทำงานการเมืองเป็นภารกิจที่สำคัญ ยิ่ง ทุกคนจึงจำเป็นต้องทำตลอดไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ เป็นอกาลิโก โดยเฉพาะคือ ขับไล่เผด็จการ รัฐสภา
การเมืองนำการทหาร

            บุคคลเป็นอันมากถาม อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ซึ่งเป็นเจ้าของความคิด “IDEA” อันเป็นที่มาของ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ว่า “นโยบาย 66/2523 เป็นนโยบาย การเมืองนำการทหาร ใช่หรือไม่”
            ท่านตอบว่า “ผมไม่เคยเสนอให้ใช้ นโยบาย (Policy) หรือ ยุทธศาสตร์ (Strategy) การเมืองนำ การทหาร เพราะมันเสนอไม่ได้ เหตุที่เสนอเช่นนั้นไม่ได้ก็เพราะว่า “การเมืองนำการทหาร” ไม่ใช่ นโยบายหรือยุทธศาสตร์ แต่การเมืองนำการทหารมันเป็น “ความจริงแท้” หรือที่เรียกว่า “Reality”
            ความจริงแท้ มันดำรงอยู่เอง นอกจากมันจะอยู่เหนือนโยบายและยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นปัญหา ข้อเท็จจริง (Fact) แล้ว มันยังอยู่เหนือ สัจธรรม (Truth) อีกด้วย ดังนั้น ความจริงแท้ จึงไม่สามารถ เป็นนโยบายหรือยุทธศาสตร์ เพราะมันเป็นรากฐานของนโยบายและยุทธศาสตร์
            นโยบาย 66/2523 จึงไม่ใช้คำว่า การเมืองนำการทหาร มีแต่คำว่า การรุกทางการเมืองอย่าง ต่อเนื่อง หมายถึง การรุกในการขยายเสรีภาพของบุคคลและการขยายอธิปไตยของปวงชนอย่างต่อ เนื่องนั่นเอง
ชนชั้นอิสระทางการเมือง

            ปลายศตวรรษที่ 19 ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมวิสาหกิจของ “ระบบทุนนิยม” เกิดการ รวมศูนย์ทุน (Centralization of Capital) พัฒนาจากทุนนิยมเสรี (Free Capitalism) เป็นทุนนิยมผูกขาด (Monopoly Capitalism)
            ทำให้ “ชนชั้นกลาง” แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
            1. ชนชั้นกลางเสรี (Liberal Bourgeoisie)
            2. ชนชั้นกลางผูกขาด (Monopoly Bourgeoisie)
            เมื่อรวมกับอีกชนชั้นหนึ่งที่กำเนิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกันในปี 1848 ทำให้ชนชั้นกรรมกรเป็น ชนชั้นอิสระทางการเมือง ซึ่งมาร์กซ์เรียกว่า ชนกรรมาชีพ (Proletariat)
            จึงทำให้เกิดชนชั้นอิสระทางการเมืองขึ้น 3 ชนชั้น
            1. ชนชั้นศักดินา (Feudalists)
            2. ชนชั้นกลาง หรือกฎมพี (Bourgeoisie)
            3. ชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariats)
            ในการต่อสู้กันทางการเมือง ทั้ง 3 ชนชั้นจึงมีการต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย
            แต่บ้านเราในขณะนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มนายทุนผูกขาด 2 กลุ่ม แย่งอำนาจกัน จึงยัง ไม่มีประชาธิปไตยเกิดขึ้น
พรรคการเมือง

            พรรคการเมือง (Political Party) คือ กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลที่ยึดกุมอำนาจรัฐ หรือมีความ มุ่งหมายเพื่อที่จะเข้าไปยึดกุมอำนาจรัฐ นี่คือความหมายย่อๆ และก็ง่ายๆ ของพรรคการเมือง
            รูปของพรรคการเมือง จะมีรูปเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ อาจจะไม่เรียกว่า “พรรค” ก็ได้ อย่าง ขบวนการประชาธิปไตย หรือคณะรัฐประหารจะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้ามีความมุ่งหมายเพื่อที่จะเข้า กุมอำนาจรัฐแล้ว จะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ก็ได้ชื่อว่า มีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ดังนั้น คำว่า พรรคการเมือง หมายถึง สาระสำคัญของมันไม่ได้หมายถึงรูปแบบ หรือวิธีการ
            พรรคการเมืองเกิดมาพร้อมกับ “รัฐ” (State) คือ ประเทศเมื่อมีรัฐก็มีพรรคการเมือง มีรัฐ ปกครอง ประเทศก็ต้องมีพรรคการเมือง ตั้งแต่โบราณเป็นมาอย่างนี้ พรรคเป็นของคู่กับรัฐ
            พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่อยู่เหนือรัฐ เพราะเข้าไปกุมรัฐ พรรคการเมืองจึงอยู่เหนือกฎหมาย ถ้ามีกฎหมายพรรคการเมืองก็คือ กฎหมายกันพวกอื่นกลุ่มอื่นจะเข้าไปกุมรัฐ สมัยกลางพรรคเรียกว่า ราชวงศ์
            พ.ศ. ​2523 ไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง
            พ.ศ.​2544 ออกกฎหมายให้รัฐอยู่เหนือพรรค ซึ่งผิดหลักผิดเกณฑ์ กฎหมายพัฒนาพรรคไม่ได้
กฎหมายรัฐธรรมนูญมีเพียงฉบับเดียวที่กล่าวถึงพรรคการเมืองไว้อย่างถูกหลักถูกเกณฑ์ของ ระบอบประชาธิปไตย คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.​ 2492
            “บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมกันเป็นพรรคการเมือง เพื่อดำเนินการเมืองตามวิถีทาง ประชาธิปไตย และจะนำเอากฎหมายที่ว่าด้วยสมาคมมาใช้กับพรรคการเมืองมิได้”
            พรรคการเมืองจะเกิดขึ้นหรือมีบทบาทได้ จะต้องมี “พระราชบัญญัติพรรคการเมือง” ขึ้นมา รองรับนั้น เป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะแทนที่การรวมตัวทางการเมืองเป็น “พรรคการเมือง” (Political Party) จะเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ของการเป็นประชาชนของประเทศที่ประชาชนทุกคน พึงจะมีโดยกำเนิด ไม่ต้องอาศัยกฎหมายใดๆ มารองรับทั้งสิ้น
            การกำหนดแนวคิดว่า พรรคการเมืองจะมีขึ้นได้มี พรบ. พรรคการเมืองมารองรับนั้น เท่ากับ เป็นแนวคิดที่ต้องมีการควบคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนให้อยู่ในอำนาจของตน อย่างปฏิเสธไม่ได้ และไม่ต้องการให้ใครมาแย่งอำนาจจากตนนั่นเอง พรรคการเมืองบ้านเราจึงเป็นได้ เพียงบริษัทค้าการเมืองที่รวมตัวกันด้วยเงิน (ทุน) แทนที่จะรวมตัวกันด้วยอุดมการทางการเมือง ไม่ยึด นโยบายแต่อยู่ที่บุคคลระดับสูงในพรรคที่มีเงินมาก เป็นผู้กำหนดบทบาทของพรรค





ความผิดทางการเมือง

            ความผิดในทางศาสนา และความคิดในทางการเมืองเป็นเรื่อง “ธรรมาธิปไตย” ไม่ใช่เป็นเรื่อง ของ “โลกาธิปไตย” จึงเป็นความผิดในทางธรรม ไม่ใช่เป็นความผิดทางโลก (ยกเว้นในกรณีถูกแจ้ง ความดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาอื่น)
            ความผิดในทางศาสนาและความผิดในทางการเมือง จึงไม่มีกฎหมายทางโลกลงโทษ เพราะ เป็นโทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
            โดยเฉพาะกฎธรรมชาตินั้น หนักหนาสาหัสกว่าโทษตามกฎหมาย คือเป็นตราบาปไปตลอด ชีวิต แต่โทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
            พระมีความผิดถึงขั้นปาราชิก ต้องพ้นสภาพจากความเป็นพระ เพราะเป็นความผิดพระธรรม วินัย จึงหมดสิทธิ์จะกลับมาบวชใหม่อีกไม่ได้เลยตลอดชีวิต เป็นตราบาปทางจิตใจไปชั่วชีวิต
            ในทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน เมื่อนักการเมืองมีความผิดทางการเมือง ต้องรับผิดชอบทาง การเมืองด้วยการลาออก และถ้ามีความผิดร้ายแรงในทางการเมือง โดยหลักการจะกลับมาเป็นนัก การเมืองอีกไม่ได้เลย แต่ระบอบเผด็จการ นักการเมืองย่อมไม่ถือหลักถือเกณฑ์


1 ความคิดเห็น:

  1. The History of the Casino - One of the Most Popular Casinos
    A relative newcomer to the world of www.jtmhub.com online gambling, Wynn Las Vegas opened casinosites.one its doors to a new audience of over 600,000 ventureberg.com/ in 2017. This was the first casino 토토

    ตอบลบ