6. ใน ระบบทุนนิยม
(Capitalism System) ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ถ้าตราบใดที่ชนชั้น กรรมกรซึ่งเป็น
ชนชั้นล่าง ยังไม่มีการผลักดัน (Pressure Group) การสร้างประชาธิปไตย
ตราบนั้น ก็เป็นอันเชื่อได้ว่า
จะยังไม่มีระบอบประชาธิปไตยที่เป็นจริงเกิดขึ้นได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะว่า ระบบ ทุนนิยม
และระบอบประชาธิปไตยจะดำรงอยู่ได้ ก็แต่โดยความร่วมมือระหว่าง กรรมกร กับ
นายทุน เท่านั้น ขาดข้างใดข้างหนึ่งก็จะไม่มีระบบทุนนิยม
และถ้ากรรมกรไม่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ก็จะไม่มี ระบอบประชาธิปไตย
7. การสร้างประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีห้วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการ
เรียกว่า ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) หรือ ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
ความล้มเหลว หรือ ความสำเร็จของ การสร้างประชาธิปไตยก็จะอยู่ที่ตรงจุดนี้
ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของ รัฐบาลเฉพาะกาล (Provisional Government) หรือ
รัฐบาลชั่วคราว (Interim Government) ไม่ใช่เป็นภารกิจของรัฐบาลรักษาการณ์
(Caretaker Government) ซึ่งไม่มีอำนาจ หรือรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง
ดังเช่น ในกรณีพรรค ประชาธิปัตย์ หรือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นอยู่ในขณะนี้
เพราะเป็น พรรคปฏิกิริยา (Reactionary) เป็น ขบวนการที่ล้าหลัง (Backward)
ไม่ใช่ขบวนการปฏิวัติ (Revolutionary) หรือขบวนการก้าวหน้า (Progressive)
จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการสร้างประชาธิปไตย
8. เสนอการ ปฏิวัติสันติ
(Peaceful Line) ทั้งนี้เป็นเพราะการปฏิวัติประชาธิปไตยสำหรับ ประเทศไทยนั้น
มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนคือ จะสำเร็จได้ก็แต่ การปฏิวัติสันติ เท่านั้น
มิอาจสำเร็จได้ด้วย การปฏิวัติแนวทางรุนแรง (Violent Line) และการเคลื่อนไหวมวลชน
เช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะว่าการ เคลื่อนไหวปฏิวัตินั้น
สำหรับประเทศไทยนอกจากต้องใช้แนวทางสันติแล้ว การเคลื่อนไหวปฏิวัติยัง จะต้องประกอบด้วย
1) การเคลื่อนไหวทางความคิด
2) การเคลื่อนไหวทางหลักการ
3) การเคลื่อนไหวทางการจัดตั้ง
9. การสร้างประชาธิปไตย
หัวใจที่สำคัญอยู่ที่ “แนวทาง” หรือ “มรรควิธี” (Method) มิใช่อยู่ที่
“เจตนาดี” หรือคำพังเพยของฝรั่งที่ว่า “Good Intention Paves the Way to
Hell” และสาระสำคัญ ของแนวทางก็คือ อธิปไตยของปวงชน และ เสรีภาพของบุคคล เช่นเดียวกับสาระสำคัญของนโยบาย
66/23 ที่มีประสิทธิภาพในการยุติสงครามกลางเมืองลงได้ ก็คือ “การขยายเสรีภาพของบุคคล”
และ “ขยายอธิปไตยของปวงชน” ให้ปรากฏเป็นจริง... แต่ในปัจจุบันอยู่ที่ต้องทำให้
เสรีภาพของบุคคล และ อธิปไตยของปวงชนให้เป็นจริงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
มิใช่อยู่ที่การขยายให้เป็นจริง ซึ่งก็จะแก้ ปัญหาของชาติทั้งปวงได้เช่นเดียวกับนโยบาย
66/23
10. การจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้นั้น
เราจะต้องมีความเข้าใจความหมายของ ประชาธิปไตย ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไป และ
ลักษณะประยุกต์ ลักษณะทั่วไป คือ ปัญหา หลักการและหลักวิชาของลัทธิประชาธิปไตย
แต่ความรู้ความเข้าใจแค่นี้ยังไม่พอ เรายังต้องมีความ เข้าใจประชาธิปไตยในลักษณะประยุกต์
อีกด้วย กล่าวคือ เราต้องสามารถประยุกต์หลักการและหลัก วิชาอันเป็นหลักสากล
ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคมไทยให้ได้อีกด้วย ถ้าเรายังแก้ปัญหานี้ ไม่ตก
เราก็จะสร้างประชาธิปไตยให้เป็นจริงไม่ได้
11. เราต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยนั้น
มีหลายแบบคือ ประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งเป็น ประชาธิปไตยในแบบของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นร้อยๆ
ปี กับประชาธิปไตยในแบบของประเทศที่ กำลังพัฒนามีลักษณะต่างกัน เราจึงไม่อาจจะเอาประชาธิปไตยแบบตะวันตก
มาใช้กับประเทศด้อย พัฒนา หรือ ประเทศที่กำลังพัฒนาได้เลย เพราะมันเข้ากันไม่ได้
เราจึงจำเป็นต้องคิดสร้าง ประชาธิปไตยให้เป็นแบบของเราขึ้นมาเอง ที่เรียกกันว่า ประชาธิปไตยแบบไทย
เหตุที่การสร้าง ประชาธิปไตยในบ้านเราล้มเหลวมายาวนาน ก็เพราะว่าคณะราษฎรเอาประชาธิปไตยในแบบของ
ประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งดุ้น มาครอบประเทศไทยเอาไว้ และนักร่างรัฐธรรมนูญคณะต่อๆ มา
ก็ถนัด แต่จะลอกแบบประชาธิปไตยของประเทศอื่นๆ มาใช้ทั้งสิ้น
โดยไม่เคยคิดสร้างแบบของเราขึ้นมาใช้ เองเลย
จึงทำให้ประชาธิปไตยบ้านเราล้มเหลวมาจนทุกวันนี้
12. เราต้องเข้าใจว่า
ประชาธิปไตยนั้นมีทั้ง ด้านเนื้อแท้ และ ด้านรูปแบบภายนอก ด้านเนื้อแท้
คือหลักการ คือคำจำกัดความที่ท่าน อับราฮัม ลินคอร์น ได้ประกาศไว้คือ การปกครองของประชาชน
โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งเป็น ด้านที่สำคัญที่สุด ด้านรูปแบบภายนอกคือการมีรัฐธรรมนูญ
มีการเลือกตั้ง และมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ตามแบบประชาธิปไตย
เราต้องเข้าใจว่าด้านรูปแบบภายนอก จะมีความหมายต่อ ความเป็นประชาธิปไตย ได้
ก็ต่อเมื่อหลักการซึ่งเป็นด้านเนื้อแท้นั้น ปรากฏเป็น จริงแล้วเท่านั้น
13. เราต้องเข้าใจว่า
การเลือกตั้ง เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะบรรลุผลให้มี การปกครองของ ประชาชน
โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ปรากฏเป็นจริง แต่ในสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง การ เลือกตั้งกลับกลายเป็นอุปสรรคต่อการเป็นประชาธิปไตย
ดังนั้น เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของความ เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เราจึงจำเป็นต้องระงับการเลือกตั้งไว้ก่อน
และเราจะต้องเข้าใจว่า การไม่ มีผู้แทนที่ราษฎรเลือกตั้งมานั้น ก็ไม่ได้หมายถึงว่า
จะไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าหากฝ่ายปกครองมีวิธี การต่างๆ
ที่จะรวบรวมเอาความคิดเห็นของประชาชนมาทำการปกครองได้มากเพียงใด ทำให้ ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึง
การปกครองนั้นก็จะเป็นประชาธิปไตยมากเพียงนั้น ผู้แทน ราษฎรซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยตรง
แต่กลับไม่ทำหน้าที่ผู้แทนต่างหากเล่า ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
14. การที่เราจะสร้างประชาธิปไตยได้
เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ความหมายของคำว่า เผด็จการ และคำว่า อนาธิปไตย
ด้วย การเมืองในบ้านเราดูภายนอกจะเห็นว่า การที่มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง
มีการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง ดูเหมือนว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ถ้าดูเนื้อใน ก็จะเห็นว่าแท้จริงแล้ว
เป็นอนาธิปไตย หรือไม่ก็ เป็นเผด็จการ ทั้งอนาธิปไตยและเผด็จการ
ก็ล้วน เป็นภัยต่อประชาชนทั้ง 2 อย่าง ทหารเป็นเผด็จการ
เรามีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี แต่พรรคการเมือง นำมาซึ่ง อนาธิปไตย ทุกครั้งที่เข้ามามีอำนาจเรากลับไม่เข้าใจกัน
และยังกลับเห็นว่า อนาธิปไตยเป็น ประชาธิปไตยเสียอีกด้วย
15. เราต้องเข้าใจความหมายของประชาธิปไตยโดยมี
2 นัยคือ โดยนัยอันแคบ และโดยนัยอันกว้าง โดยนัยอันแคบคือ ความหมายประชาธิปไตยใน ทางการเมือง
โดยนัยอันกว้าง หมายถึง ระบบประชาธิปไตย (Democratic System) คือ
หมายถึง ระบบสังคมทั้งระบบ ซึ่งประกอบ ด้วย การเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม
และวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ใช่มองกันที่ต้องมี รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเท่านั้น
การทำให้เกิดประชาธิปไตยโดยนัยอันกว้างเท่านั้น ที่จะเป็น ประชาธิปไตยที่แท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น