วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หน้าที่ 1 การสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร

           เรื่อง การสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร
  โดย วันชัย พรหมภา

             การเมืองบ้านเราในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเกิดการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย อย่างกว้างขวาง ใหญ่โต ประชาชนทั่วไปมีการเรียกร้องประชาธิปไตยกันอย่างยดเยื้อยาวนาน ชนิดที่ไม่เคยปรากฏมา ก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ความต้องการประชาธิปไตยของพี่น้องประชาชนที่เป็นอยู่นี้ เป็น เครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการปกครองแบบเผด็จการ ที่ไม่อาจจะปิดบังอำพรางกันได้อีก ต่อไปแล้ว การต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนเป็นกระแสร้อนแรงไปทั่วทุกหย่อมหญ้า และพร้อมที่จะพังทลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคขวางหน้า
          ในสถานการณ์ที่ประชาชน มีความต้องการประชาธิปไตยเช่นนี้ ได้มีกลุ่มการเมืองและคณการ เมืองหลากหลาย ได้เข้ามามีบทบาทในการนำประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยตามทรรศนะที่ตน ต้องการ โดยไม่เอื้อเฟื้อต่อหลักการและหลักวิชา จึงทำให้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน ล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งขณะนี้นอกจากจะทำให้บ้านเมืองไม่มีทางออกแล้ว ยังกลับส่งผลร้ายให้ความ ขัดแย้งของคนในชาติ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก ในท่ามกลางความต้องการประชาธิปไตยของ ประชาชนเช่นนี้ กลุ่มการเมืองและคณการเมืองหลากหลาย ได้สร้างความสับสนให้แก่พี่น้อง ประชาชนเป็น อย่างมากว่า ทรรศนะประชาธิปไตย แบบไหนคือความถูกต้อง ทรรศนะแบบไหน คือสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ กล่าวโดยสรุปก็คือประชาชนต้องการทราบว่า การสร้างประชาธิปไตย ที่ถูกต้องทำอย่างไร หรือต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และนำไปสู่ การแก้ปัญหาของชาติได้ ปัญหานี้จึงเป็นที่มาของ การจัดทำเอกสารฉบับนี้ ขึ้นมา
        ปัญหาประชาธิปไตยนั้น เกี่ยวเนื่องด้วยหลักวิชาโดยสังกัดอยู่ใน วิชาการเมือง หรือ รัฐศาสตร์ (Political Science) ซึ่งมีหลักการและกฎเกณฑ์ที่จะต้องมีความเข้าใจและยึดถืออย่างเคร่งครัดมากมาย ซึ่งเราจะคิด จะพูด จะทำเอาตามชอบใจมิได้เลย
          การจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้นั้น นอกจากจะต้องมีความเข้าใจใน ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) เป็นพื้นฐานแล้ว ยังจะต้องประกอบด้วยความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เป็น เงื่อนไขสำคัญอีกหลายประการ อาทิเช่น
            1. เราต้องเข้าใจว่า ปัญหาพื้นฐานของชาติ คือ ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) กล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี 2475 แล้ว ประเทศของเราก็ยังคงมีการปกครองแบบ เผด็จการตลอดมา เป็นเวลา 81 ปี ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ประชาชนธรรมดารู้และรู้สึกได้เป็นอย่างดี แต่นัก วิชาการและนักการเมืองในบ้านเรากลับไม่รู้ ซึ่งนอกจากไม่รู้แล้ว ยังหลอกให้ประชาชนรู้ผิดๆ อีกด้วย
               2. การสร้างประชาธิปไตย หรือการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ประชาชนต้องทำด้วยตนเอง โดย การทำให้ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Sovereignty of the People หรือ Popular Sovereignty) มิใช่การเรียกร้องให้เอารัฐธรรมนูญปี กลับมา และเอารัฐธรรมนูญปี 2550คืนไป และก็มิใช่การ เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย หรือการโค่นรัฐบาล หรือโค่นอำมาตยาธิปไตยหรือยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน แต่อยู่ที่ประชาชนต้องร่วมกันโค่น ระบอบเผด็จการ
               3. ควรแยกคำศัพท์ การปฏิวัติ (Revolution) ออกจาก รัฐประหาร (Coup ďé tat) อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการปฏิวัติหมายถึงทำสิ่งที่ไม่ดีให้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ ในทางการเมือง หมายถึง การเปลี่ยนระบอบเผด็จการ เป็นระบอบประชาธิปไตย ส่วนรัฐประหาร หมายถึง การใช้กำลังอาวุธยึด อำนาจรัฐโดยผิดกฎหมาย จึงไม่ควรเอา 2 คำนี้มาปะปนกัน เพราะการเห็นรัฐประหารเป็นการปฏิวัติ นั้น เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการสร้างประชาธิปไตย กลายเป็น อาชญากรรมทางวุฒิปัญญา
               4. เสนอเรื่อง การปฏิวัติ ในสถานการณ์ปฏิวัติ ปัจจุบันเป็นสถานการณ์ปฏิวัติ เป็นสถานการณ์ ที่ต้องเปลี่ยน ระบอบเผด็จการ ให้เป็น ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่เปลี่ยนรัฐบาลเท่านั้น เป็น สถานการณ์ที่ยังไม่เหมาะสมสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเป็นสถานการณ์ที่ประชาชน ปฏิเสธการปกครอง ที่ไม่ใช่เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ดังนั้น การเลือกตั้งทั่วไป จึงไม่ใช่ทางออกของชาติ ในสถานการณ์เช่นนี้
         5. การเรียกร้อง ลัทธิรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) หรือการเรียกร้องให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยของนักวิชาการโดยไม่เรียกร้อง ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) นั้น เป็นการพ่นพิษใส่ประชาชน ทั้งนี้เพราะเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างที่สุดของการสร้าง ประชาธิปไตยสำหรับประเทศไทย ในทางวิชาการเรียกขบวนการทางการเมือง เช่นนี้ว่า พวกปฏิปักษ์ ปฏิวัติ (Counter Revolutionary) หรือ พวกปฏิวัติซ้อน หมายถึง พวกปฏิวัติเพื่อทำลายการปฏิวัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น