26. เราจะต้องเข้าใจว่า
แนวทางสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้องของประเทศไทยนั้น คือ แนวทาง ของพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่ รัชกาลที่ 5, 6, 7 เป็นต้นมา เป็นวิวัฒนาการของการเคลื่อนไหว ประชาธิปไตยในประเทศไทย
ร้อยกว่าปีจนถึงปัจจุบัน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสถาปนาการปกครอง แบบประชาธิปไตยตามแบบยุโรป
และญี่ปุ่น เพราะอยู่ใน รุ่นเดียวกัน กล่าวคือ
ญี่ปุ่นสถาปนาการ ปกครองแบบประชาธิปไตยสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2432
ภายหลังความสำเร็จสมบูรณ์ของมหาปฏิวัติฝรั่งเศส เพียง 15 ปี คือปี พ.ศ. 2414
โดยที่ประเทศไทยก็เริ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตยมาพร้อมๆ กับญี่ปุ่น ใน รัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิ
มัตซูฮิโต โดยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการ ปฏิวัติประชาธิปไตย
ซึ่งในขณะนั้น เรียกทับศัพท์ว่า “เรโวลูชั่น” ด้วยวิธี “การปฏิรูปการปกครอง”
ซึ่งเรียกทับศัพท์ว่า “คอเวินเมนต์ รีฟอร์ม” เพื่อบรรลุความมุ่งหมายเช่นดียวกับญี่ปุ่น
แต่ต่อมาแนวทาง ดังกล่าวต้องล้มเหลว ก็เพราะการยึดอำนาจของคณะราษฎรในสมัยรัชกาลที่
7 และได้ล้มเหลวมาจนถึง ทุกวันนี้ ฉะนั้น การสร้างประชาธิปไตย
จึงต้องกลับไปสู่การนำโดยพระมหากษัตริย์ดังเดิม ก็จะทำให้ การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นผลดี
27. การจะทำให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองกันนั้น
ก่อนอื่นเราจะต้องมีความเข้าใจรูปธรรม ของความขัดแย้งทางสังคม ว่าเป็นอย่างไร
หรือคู่ขัดแย้งคืออะไร เมื่อมีความเข้าใจแล้วก็จะทำให้แก้ ปัญหานั้นได้
มีผู้อธิบายหลักการพิจารณาปัญหานี้ไว้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าถูกต้องก็คือ
“มาร์กซ์” และ “เองเกลส์” ซึ่งเป็นผู้สร้าง ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ (Dialectical
Materialism) ขึ้นแล้ว ก็ได้นำเอาวัตถุนิยมวิภาษไปประยุกต์กับพัฒนาการของสังคม
และสรุปขึ้นเป็น วัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) โดยถือว่าพัฒนาการของสังคมนั้น
ย่อมมีความขัดแย้ง ไม่เป็นเอกภาพ ซึ่งต้องเป็นไปตาม กฎของวัตถุนิยมวิภาษ
เช่นเดียวกับ โลกธรรมชาติทั้งปวง
โดยเห็นว่าความขัดแย้งภายในสังคม
ซึ่งนอกจากจะเป็นความขัดแย้งแล้ว ยังเป็นพลังผลักดัน พัฒนาการของสังคมด้วยก็คือ
ความขัดแย้งระหว่าง “กำลังผลิต” (Productive Force) กับ “ความ สัมพันธ์การผลิต”
(Reaction Production) ในสังคมชนชั้นมันจะแสดงออกเป็นความขัดแย้งทาง ชนชั้น
โดยรูปธรรมของความขัดแย้งที่แท้จริงก็คือ “กรรมกร” กับ “นายทุน” นั่นเอง
ดังนั้น ความ ปรองดองแห่งชาติในสังคมทุนนิยม
จะเป็นไปได้ก็คือ คู่ขัดแย้งตัวจริงของสังคมทุนนิยมต้อง สามัคคี กัน และการจะสามัคคีกันได้นั้น
อยู่ที่ต้องสร้างประชาธิปไตยร่วมกัน ถ้าตราบใดที่ขบวนการกรรมกร ยังไม่เข้าร่วมผลักดันการสร้างประชาธิปไตย
ตราบนั้นก็จะยังไม่มีความปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นได้
28. การจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้
เราต้องเข้าใจด้วยว่า ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) เนื้อแท้ตัวจริงเป็นอย่างไร
การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) ซึ่งจะเรียกว่า
ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) ก็ได้ แต่การปกครองแบบประชาธิปไตย กับ
ระบอบประชาธิปไตยนั้น แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์อย่างแยกกันไม่ออก
ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะ ระบอบ คือ มรรควิธีของการปกครอง กล่าวอย่างรูปธรรมหมายถึง
อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ซึ่งมีเพียง 2 อย่าง คือ “ปวงชน” และ “ชนส่วนน้อย”
ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็น “ระบอบประชาธิปไตย”
ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยก็เป็น “ระบอบเผด็จการ” ฉะนั้น
ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการปกครองที่สำคัญที่สุดของ การปกครองแบบประชาธิปไตย
ถ้าปราศจากระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าจะมีหลักการอื่นหรือเงื่อนไขอื่น เช่น มีเสรีภาพ
มีระบบ รัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งเป็นต้น ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบเผด็จการตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย
เป็นปัญหาหลักการคือหลักเผด็จการ ไม่ใช่ปัญหาบุคคล ความหมายตามหลักวิชาการคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย โดยชนส่วน น้อยนั้น อาจเป็นชนชั้นสูงก็ได้
ชนชั้นกลางก็ได้ หรือชนชั้นกรรมาชีพก็ได้ รวมทั้งเป็นทหารก็ได้
หรืออาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ก็ได้ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างกัน
โดยแต่ละกลุ่มผลประโยชน์ นั้น จะตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นมา
เพื่อทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของตน ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของ ประชาชน
นักการเมืองบ้านเราจึงล้วนเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยทั้งสิ้น
แต่เมื่อเป็นผู้แทนของชนส่วน น้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า
พรรคการเมืองเหล่านั้นเป็นเผด็จการ พรรคการเมืองเหล่านี้จะเป็น เผด็จการได้ก็ต่อเมื่อ
มีอำนาจอธิปไตยด้วย ดังนั้น ระบอบเผด็จการจึงมีองค์ประกอบดังนี้
1) เป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยที่ร่ำรวย
2) เป็นกลุ่มการเมืองหรือคณะหรือพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจรัฐ
หรือเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตย ของชาติและของประชาชน
ดังนั้น
เผด็จการที่แท้จริง จึงอยู่ที่ตัวคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาล
มิใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญเลย แล้ว เราจะไปแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร
29. การสร้างประชาธิปไตย
ก็คือ การปฏิวัติประชาธิปไตย กล่าวตามความหมายที่เป็นศัพท์ ทางวิชาการก็คือ
การทำให้ดีขึ้น แต่ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็หมายถึง การยกเลิกสิ่งไม่ดี
แล้วทำการ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีขึ้นแทน ทั้งนี้ก็เพราะว่า
การสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่ดีไม่สามารถเป็นไปได้ โดยไม่ยกเลิก สิ่งไม่ดี
เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องมีทั้ง “ปหานะ” และ “ภาวนา” ปหานะ
คือ ละอกุศลกรรม ภาวนา คือ เจริญกุศลกรรม ดังนั้น
การเจริญกุศลกรรมโดยไม่ละอกุศลกรรมนั้น จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ หรือการทำดี
โดยไม่ละชั่วจึงเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับการทำนา ต้องกำจัดวัชพืชก่อน
ฉะนั้น
การสร้างประชาธิปไตย ก็ต้อง ยกเลิกระบอบเผด็จการ และ การปกครองเผด็จการ
โดยสิ้นเชิง ซึ่งประกอบด้วยมาตรการสำคัญ ดังนี้คือ
(1) ทำให้รัฐบาลของการปกครองแบบเผด็จการสิ้นสุด
(2) ทำให้รัฐสภาของการปกครองแบบเผด็จการสิ้นสุด
(3) ยกเลิกรัฐธรรมนูญของการปกครองแบบเผด็จการ
(4) สลายพรรคการเมืองเผด็จการ
ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ บริษัทค้าการเมืองอันเป็นเครื่องมือ
ทำธุรกิจของบรรดาเจ้าพ่อทั้งหลาย
(5) สลายกลุ่มผลักดันมาเฟีย
และองค์กรอิสระที่เป็นกลไกปกป้องคุ้มครองระบอบเผด็จการ เพราะเป็นกลไกพรรค
ไม่ใช่กลไกรัฐ
(6) ให้จัดตั้ง “สภาปฏิวัติแห่งชาติ”
ซึ่งประกอบด้วยองค์การระดับชาติ และองค์การระดับ จังหวัด มีผู้แทนในแต่ละอำเภอทั่วประเทศ
รวมกับผู้แทนอาชีพต่างๆ อย่างเป็นสัดส่วน
(7) ผู้แทนสาชาอาชีพต่างๆ
ได้เปิดประชุมแต่ละสาขาอาชีพ สะท้อนปัญหาและเสนอวิธีการ แก้ปัญหาของอาชีพนั้นๆ
(8) กำหนดนโยบายประชาธิปไตย
ประกอบด้วยนโยบายหลัก และนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้า ซึ่งสาระสำคัญ ของนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้า
ควรเป็นดังนี้
1) ยกเลิกการกดขี่ข่มเหงประชาชน
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกกรณีทันที
2) ยกเลิกหนี้สินของประชาชนที่มีฐานะยากจน
และเฉลี่ยรายได้แห่งชาติให้เกิดความเป็นธรรม
3) ตรึงและพยุงราคาสินค้า
โดยใช้รัฐวิสาหกิจที่ได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพแล้วเป็นสำคัญ
4) ประกันราคาผลิตผลเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ผลประโยชน์ตกแก่ชาวนา ชาวไร่ อย่างทั่วถึง
และปฏิรูปที่ดินให้ชาวนามีกรรมสิทธิ์ในที่ทำกินและประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง
5) ให้ข้าราชการเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน
และพรรคการเมืองได้อย่างเสรี ซึ่งจะยัง ผลให้ข้าราชการมีจิตสำนึก
เป็นข้าราชการของประชาชนอย่างแท้จริง
6) ให้ผู้แทนรัฐวิสาหกิจ
โดยทางองค์กรของผู้ใช้แรงงานที่แท้จริงเข้าร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อ พิจารณากำหนดนโยบาย
และมาตรการในการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจ
7) ออกกฎหมายประกันสังคมให้เป็นธรรม
และกฎหมายที่เกี่ยวกับการหางาน และส่งคนงาน ไปต่างประเทศ
8) ปรับปรุงแก้ไข
สาธารณูปโภคให้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง
9) ปลดปล่อยนักโทษและยกเลิกคดีการเมือง
10) ปราบปรามอาชญากรรมและคอรัปชั่น
และรักษาความปลอดภัยของประชาชนอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยให้พรรคการเมืองและองค์กรมวลชนร่าวมดำเนินการ
11) ปรับปรุงระบบราชการให้เป็นประชาธิปไตย
โดยใช้มาตรการประสาน กลไกรัฐ กับ กลไกพรรคเป็นเครื่องมือสำคัญ
12) ให้มีสมาชิกวุฒิสภามาจากสาขาอาชีพอย่างยุติธรรม
13) ให้มีพรรคการเมืองพัฒนาตามธรรมชาติ
มิใช่โดยกฎหมายบังคับ
14) ให้มีสภาการเลือกตั้งแห่งชาติ
ประกอบด้วยส่วนราชการ พรรคการเมือง และองค์การ มวลชน ทำหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้ง
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเลือกตั้งเสรี และผู้มีสิทธิหนึ่งคน เลือก ผู้แทนคนเดียว
15) ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายทั้งปวง
ที่ทำลายหรือบั่นทอนเสรีภาพของบุคคล
16) ตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ให้สอดคล้องกับโครงสร้าง และหลักการ ประชาธิปไตย
ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์แล้วนั้น เมื่อรัฐสภาลงมติเห็นชอบแล้ว ให้ ประชาชนแสดงประชามติก่อนบังคับใช้
นี่คือตัวอย่าง
ของการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง และเป็นทางออกของชาติได้
Casinos Near Atlanta (Mapyro)
ตอบลบFind Casinos Near Atlanta (Mapyro). Casinos Near Atlanta (mapyro). Casinos Near Atlanta (mapyro). Casinos Near 통영 출장마사지 Atlanta (mapyro). Casinos Near Atlanta (mapyro). 상주 출장샵 Casinos Near Atlanta 파주 출장샵 (mapyro). Casinos Near Atlanta (mapyro). 강릉 출장마사지 Casinos Near Atlanta 김제 출장안마 (mapyro). Casinos Near Atlanta (mapyro).