16. เราต้องเข้าใจว่า
ประชาธิปไตยของไทยนั้น ต้องมี สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แห่งรัฐ เพราะองค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะ
“อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” โดยเฉพาะประเทศไทยมีการปกครองแบบ
รัฐเดียว (Unitary State) ซึ่งต้องใช้การปกครองด้วยวิธี “รวมอำนาจการ ปกครอง”
(Centralization of Administrative Power) จะใช้ การกระจายอำนาจการปกครองมิได้
และจะกำหนดให้ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งมิได้ เพราะผิดหลักวิชารัฐศาสตร์อย่างร้ายแรง
และการจะสร้างประชาธิปไตยให้สันติได้ก็แต่ พระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
17. เราต้องเข้าใจว่า
การสร้างประชาธิปไตยของคณะราษฎรล้มเหลวนั้น ก็ด้วยเหตุสำคัญ 2 ประการ
ทั้งในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ในการวางแผนเศรษฐกิจนั้น เหตุที่ล้มเหลวก็เพราะว่า
เอียงไปทางซ้ายสุดเป็นระบบสังคมนิยม ไม่ใช่
ระบบเสรีนิยม เมื่อผิดพลาดแล้วคณะราษฎรก็ไม่ได้ กำหนดแผนใหม่ขึ้นมาแทน
กลับปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ในทางการเมืองล้มเหลว เพราะว่านอกจาก หลัก
6 ประการของคณะราษฎรขาดหลักอธิปไตยของปวงชน แล้วยังไปนำเอา รัฐธรรมนูญจากตะวันตก
ซึ่งเป็นคนละกรอบ มาครอบประเทศไทยไว้อีกด้วย ซึ่งไม่สามารถเข้ากัน ได้กับ
สภาวการณ์ทาง ประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทย จึงทำให้โน้มเอียงไปไม่ด้านใด ก็ด้านหนึ่ง
กล่าวคือ ถ้าไม่เป็น เผด็จการ ก็เป็น อนาธิปไตย
18. เราต้องเข้าใจว่า
ประชาธิปไตยกับเสถียรภาพทางการเมืองเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันมิได้
ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้ ต้องทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง และการจะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองได้นั้น
ต้องขจัดความเป็นเผด็จการและอนาธิปไตย และหลักการที่จะทำให้ เผด็จการกับอนาธิปไตยหมดไป
ก็คือการทำให้หลัก อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กับ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์
มีความสมดุลกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้ามีอำนาจอธิปไตยมากเกินไป ก็เป็นเผด็จการ
และถ้ามีเสรีภาพมากเกินไปก็เป็น อนาธิปไตย
19. การที่นักวิชาการและนักการเมืองตั้งสูตรว่า
ทหารเป็นเผด็จการ และ พลเรือนเป็น ประชาธิปไตยนั้น
ไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและหลักวิชา เพราะโดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว ยอดนักเผด็จการของโลกล้วนแต่เป็นพลเรือนทั้งสิ้น
ไม่ว่า ฮิตเลอร์ มุสโสสินี หรือ โงดินห์เดียม ฯลฯ
และตามหลักวิชาแล้ว คำว่าระบอบอะไร หมายถึง อำนาจเป็นของใคร เช่นระบอบประชาธิปไตย
หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และระบอบเผด็จการหมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของ
ชนส่วนน้อย ซึ่งชนส่วนน้อยนั้น อาจจะเป็น พรรคทหาร
หรือเป็นพรรคของพลเรือนก็ได้ทั้งสิ้น
20. เราต้องเข้าใจว่า
การสร้างประชาธิปไตยเป็นคนละเรื่องกับการสร้างรัฐธรรมนูญ และก็ยัง ไม่เคยมีที่ไหนในโลก
ที่เอารัฐธรรมนูญมาสร้างประชาธิปไตยสำเร็จได้เลย มีแต่ต้องสร้าง ประชาธิปไตยก่อนแล้ว
จึงสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมารักษาความเป็นประชาธิปไตย แต่บ้านเรากลับดัน ทุลังจะสร้างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยให้ได้
แสดงให้เห็นถึงความวิปริตพุทธิ
21. ในกรณีที่เริ่มต้นสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย
หรือที่เรียกว่า การสร้าง ประชาธิปไตยนั้น เป็นการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องใช้กำลัง ไม่ว่ารูปแบบไหน
ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยหลักนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ว่าเป็นความถูกต้องชอบธรรม
22. ในสถานการณ์ปฏิวัติ
เราจะต้องทำความรู้จักกับ ขบวนการเมือง (Political Movement) ที่สำคัญในประเทศไทยด้วย
คือ
1) ขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตย
2) ขบวนการเผด็จการ
3) ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยม
4) ขบวนการรัฐธรรมนูญ
ขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างประชาธิปไตย
มีนายทุนที่ก้าวหน้า ร่วมมือกับ ขบวนการกรรมกร
เป็นกำลังพื้นฐาน
ขบวนการเผด็จการมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาระบอบเผด็จการ
มีพรรคการเมืองเป็นผู้แทน ของชนส่วนน้อย ซึ่งเป็นพรรคของชนชั้นสูง
และพรรคของชนชั้นกลาง โดยปฏิเสธการร่วมมือ กับชนชั้นล่าง
ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยม
เป็นขบวนการปฏิวัติที่แข่งกับขบวนการประชาธิปไตย โดยมี ความมุ่งหมายไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์
มีชนชั้นกรรมาชีพเป็นกำลังสำคัญ เพื่อทำลายชนชั้นและชนชั้น กลาง
ขบวนการรัฐธรรมนูญ
มีความมุ่งหมายเพื่อรักษาระบอบเผด็จการโดยไม่รู้ตัว เป็นขบวนของ นักวิชาการ
และเป็นขบวนการที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยอย่างที่สุด เป็นปฏิปักษ์ต่อ กระบวนการประชาธิปไตยร้ายแรงยิ่งกว่าขบวนการเผด็จการ
ถ้าขบวนการนี้หยุดการเคลื่อนไหว รัฐธรรมนูญเมื่อใด
ประเทศไทยก็จะเป็นประชาธิปไตยเมื่อนั้น
23. ในสถานการณ์ขณะนี้
เป็นสถานการณ์ปฏิวัติ คือ ประชาชนขัดแย้งกับระบอบเผด็จการ จึงเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชน
กดดันระบอบเผด็จการอย่างรุนแรง แต่บรรดานักการเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นฝ่ายเผด็จการ
ไม่ต้องการเปลี่ยนอำนาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชน จึงแบ่งขบวนการ เผด็จการออกเป็น 2
ขั้ว แล้วระดมสรรพกำลังเข้าต่อสู้กันเอง เพื่อต้องการเบี่ยงเบนกระแส ปฏิวัติของ ประชาชน
หมายความว่าการเคลื่อนไหวมวลชนไม่ว่าจะใส่เสื้อสีอะไรก็ตาม
จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ก็ตาม เป็น ปฏิวัติ (Revolution) เสมอ
แต่มีการนำเป็น ปฏิกิริยา (Reaction) ดังนั้น ถ้ากระแสปฏิวัติ ของประชาชนมีความรุนแรงมากเท่าใด
ก็จะยิ่งส่งผลให้ฝ่ายเผด็จการต่อสู้กันเองอย่างรุนแรงมากขึ้น เท่านั้น
ไม่ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ชนะก็จะหลอกพาประชาชนไปสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่สร้าง ประชาธิปไตย
ประชาชนจะต้องผ่านบทเรียนเหล่านี้ก่อนทั้งสิ้น ไม่ว่าในประเทศไหน ก่อนที่จะได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริง
24. เราต้องเข้าใจว่า
ไม่ว่าในส่งหรือปรากฏการณ์ใดๆ “เนื้อหา” (Content) กับ “รูปแบบ” (Form)
ย่อมเป็นเอกภาพกัน แยกออกจากกันมิได้ ถ้าเนื้อหากับรูปแบบ แยกออกจากกัน ก็จะไม่มี สิ่งนั้นปรากฏการณ์นั้นๆ
เช่นเดียวกัน ถ้าหลักการปกครอง
(Principle of Government) กับรูปการปกครอง (Forms of Government) แยกออกจากกัน
ก็จะไม่มี การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) กล่าวอีกนัยหนึ่ง
ถ้าระบอบประชาธิปไตยกับระบบรัฐสภาแยกออกจากกัน หรือขาดข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย
ภายใต้สภาวการณ์ อนาธิปไตย
(Anarchism) ของประเทศไทย โดยมีรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ
รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นผู้ปกครองอยู่ในขณะนี้ นอกจากหลักการปกครองไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
แล้วรูปการปกครอง ก็ยังไม่ใช่ระบบรัฐสภาอีกด้วย จึงส่งให้วิกฤติของชาติในครั้งนี้
มีความรุนแรง อย่างที่สุด และหาทางออกไม่ได้
ถ้าทุกพรรคการเมืองเห็นแก่ชาติบ้านเมืองตามที่พูดจริง จะต้องวางมือ ทางการเมืองชั่วคราว
และเปิดทางให้รัฐบาลเฉพาะกาลเข้ามาแก้ปัญหาของชาติแทน ประเทศชาติ ก็จะมีทางออก
25. เราต้องเข้าใจว่า
ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐกิจได้เปลี่ยนเป็นระบบเสรีนิยม (Liberalism
System) โดยมีระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) เกิดขึ้นและตั้งอยู่บน รากฐานของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม
เมื่อมีการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม มันก็จะผลักดัน ให้เกิดการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง
และเป็นไปเอง ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง การปกครองให้เป็นประชาธิปไตย
ก็จะส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่าง “ประชาชน” กับ “ระบอบ เผด็จการ” พัฒนาขึ้นเป็นความรุนแรง
และถ้ามีอุปสรรคขัดขวาง การเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็น ประชาธิปไตยเมื่อใด
มันก็จะระเบิดขึ้นเป็น สงครามกลางเมือง (Civil War) มวลชนลุกขึ้นสู้ (Mass
Uprising) นำความหายนะมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของประเทศชาติและประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น