วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วงจรอุบาทว์ทางการเมือง


วงจรอุบาทว์ทางการเมือง

            วงจรอุบาทว์ทางการเมือง ที่ทำให้ประชาชนไม่หลุดพ้นทางการเมือง (Political Emancipation) หรือไม่หลุดพ้นจากระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) การเมืองไทยต้องเวียน ว่ายอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมา 881 ปี การหลุดพ้นนี้เรียกว่า “ปฏิวัติ” (Revolution)
            ขบวนการที่ทำให้ประชาชนต้องวนเวียนอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการคือ “ขบวนการ รัฐธรรมนูญ” โดยขบวนการดังกล่าว เข้าแย่งชิงกันกุมอำนาจการปกครองแบบเผด็จการรัฐสภา ด้วย วิธีการ 2 อย่างคือ “ยึดอำนาจ” และ “เลือกตั้ง” โดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นข้อ อ้างในการโค่นล้มกัน แล้วเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของพวก ตน และทำการเลือกตั้งกันใหม่ เมื่อเลือกตั้งแล้วและตกลงกันไม่ได้ในการแบ่งปันผลประโยชน์ จึงต้อง โค่นล้มและเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญกันใหม่ หมุนเวียนเป็น “วัฏจักร” ระหว่างการโค่นล้มด้วย กำลังหรือยึดอำนาจกับการเลือกตั้ง โดยมีรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงใหม่เป็น “แกนกลาง” ของ การหมุนเวียน เพราะถือเอารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสูงสุดตามธรรมชาติของขบวนการรัฐธรรมนูญเรียกว่า “วงจรอุบาทว์” เมื่อประชาชนไม่เอาขั้วรัฐประหาร ก็สลับขั้วมาไว้ที่เลือกตั้ง การสลับขั้วอำนาจ อธิปไตยของชนส่วนน้อยเช่นนี้ จึงทำให้ระบอบเผด็จการสามารถดำรงอยู่ได้ การทำลายวงจรอุบาทว์ ก็คือไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

การเมืองคืออะไร


การเมืองคืออะไร

            นักปราชญ์สมัยกรีกกล่าวไว้ว่า “คนคือสัตว์การเมือง” คำกล่าวนี้ถูกต้องมาก เพราะเป็นการขีด เส้นแบ่งชัดเจนระหว่าง “คน” กับ “สัตว์”
            “การเมือง” (Politics) เป็น “คุณสมบัติพิเศษ” ของคน เพราะคุณสมบัติพิเศษของคนนั่นแหละ ที่ทำให้คนต่างกับสัตว์ กล่าวคือ คนมีการเมือง สัตว์ไม่มีการเมือง คนสามารถสร้างอะไรได้สารพัด แต่สัตว์ไม่สามารถสร้างได้ ทางพุทธศาสนาก็แบ่งคนกับสัตว์ไว้เช่นกัน โดยเรียกคนว่า “เวไนยสัตว์” คือ รู้ธรรมได้
            การเมือง มีความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนรวมเป็นใหญ่ ปฏิเสธความมุ่งหมายเพื่อ ส่วนตัวเป็นใหญ่
            คนคือสัตว์การเมือง จึงหมายความว่า คนคือสัตว์ที่มีความมุ่งหมายเพื่อส่วนรวมเป็นใหญ่ ถ้า ใครมีความมุ่งหมายเพื่อส่วนตัวเป็นใหญ่ คนนั้นก็ไม่ใช่สัตว์การเมือง ก็คือไม่ใช่คน ตรงกับคำโบราณ ที่ว่า “คอหยักหยักสักแต่ว่าเป็นคน” การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของ คน และนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “การเมือง” สื่อมวลชนว่า สภามีแต่ เสือสิงห์กระทิงแรด ก็ หมายความว่า ในสภาไม่มี นักการเมือง
การทำงานการเมือง

            การทำงานการเมือง ไม่เหมือนการทำมาค้าขาย การลงทุนค้าขาย ซึ่งลงทุนผิดก็ล้มละลายแต่ ตัวเองเท่านั้น
            แต่การทำงานการเมือง ถ้าทำการเมืองผิด หรือทำโดยปราศจาก ความรู้ทางวิชาการเมือง นั้น ไม่เพียงแต่ตัวเองจะล่มจมคนเดียวเท่านั้น หากแต่ยังทำให้ประเทศชาติและประชาชนวินาศล่มจมตาม ไปด้วย
            การเมืองเป็นปรากฏการณ์สังคมอันสูงส่ง สูงส่งเป็นอันดับสองรองจากศาสนา ในขณะที่ ศาสนามีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติสุขของสรรพสัตว์ แต่การเมืองมีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติ สุขของประชาชนและมนุษยชน เรื่องของการเมืองจึงเป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของประชาชน ทุกคน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของอาชีพ นักการเมืองอาชีพจึงไม่มี เมื่อนักเลือกตั้งหรือรัฐบาล ถูกตำหนิ ถูกด่าถูกขับไล่ หรือได้รับการดูถูกเหยียดหยามจึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องประชาชน หรือทำร้าย ประชาชน
            การเมืองคือลมหายใจ คือเส้นเลือดเส้นชีวิตของมนุษย์ การทำงานการเมืองเป็นภารกิจที่สำคัญ ยิ่ง ทุกคนจึงจำเป็นต้องทำตลอดไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ เป็นอกาลิโก โดยเฉพาะคือ ขับไล่เผด็จการ รัฐสภา
การเมืองนำการทหาร

            บุคคลเป็นอันมากถาม อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ซึ่งเป็นเจ้าของความคิด “IDEA” อันเป็นที่มาของ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ว่า “นโยบาย 66/2523 เป็นนโยบาย การเมืองนำการทหาร ใช่หรือไม่”
            ท่านตอบว่า “ผมไม่เคยเสนอให้ใช้ นโยบาย (Policy) หรือ ยุทธศาสตร์ (Strategy) การเมืองนำ การทหาร เพราะมันเสนอไม่ได้ เหตุที่เสนอเช่นนั้นไม่ได้ก็เพราะว่า “การเมืองนำการทหาร” ไม่ใช่ นโยบายหรือยุทธศาสตร์ แต่การเมืองนำการทหารมันเป็น “ความจริงแท้” หรือที่เรียกว่า “Reality”
            ความจริงแท้ มันดำรงอยู่เอง นอกจากมันจะอยู่เหนือนโยบายและยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นปัญหา ข้อเท็จจริง (Fact) แล้ว มันยังอยู่เหนือ สัจธรรม (Truth) อีกด้วย ดังนั้น ความจริงแท้ จึงไม่สามารถ เป็นนโยบายหรือยุทธศาสตร์ เพราะมันเป็นรากฐานของนโยบายและยุทธศาสตร์
            นโยบาย 66/2523 จึงไม่ใช้คำว่า การเมืองนำการทหาร มีแต่คำว่า การรุกทางการเมืองอย่าง ต่อเนื่อง หมายถึง การรุกในการขยายเสรีภาพของบุคคลและการขยายอธิปไตยของปวงชนอย่างต่อ เนื่องนั่นเอง
ชนชั้นอิสระทางการเมือง

            ปลายศตวรรษที่ 19 ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมวิสาหกิจของ “ระบบทุนนิยม” เกิดการ รวมศูนย์ทุน (Centralization of Capital) พัฒนาจากทุนนิยมเสรี (Free Capitalism) เป็นทุนนิยมผูกขาด (Monopoly Capitalism)
            ทำให้ “ชนชั้นกลาง” แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
            1. ชนชั้นกลางเสรี (Liberal Bourgeoisie)
            2. ชนชั้นกลางผูกขาด (Monopoly Bourgeoisie)
            เมื่อรวมกับอีกชนชั้นหนึ่งที่กำเนิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกันในปี 1848 ทำให้ชนชั้นกรรมกรเป็น ชนชั้นอิสระทางการเมือง ซึ่งมาร์กซ์เรียกว่า ชนกรรมาชีพ (Proletariat)
            จึงทำให้เกิดชนชั้นอิสระทางการเมืองขึ้น 3 ชนชั้น
            1. ชนชั้นศักดินา (Feudalists)
            2. ชนชั้นกลาง หรือกฎมพี (Bourgeoisie)
            3. ชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariats)
            ในการต่อสู้กันทางการเมือง ทั้ง 3 ชนชั้นจึงมีการต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย
            แต่บ้านเราในขณะนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มนายทุนผูกขาด 2 กลุ่ม แย่งอำนาจกัน จึงยัง ไม่มีประชาธิปไตยเกิดขึ้น
พรรคการเมือง

            พรรคการเมือง (Political Party) คือ กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลที่ยึดกุมอำนาจรัฐ หรือมีความ มุ่งหมายเพื่อที่จะเข้าไปยึดกุมอำนาจรัฐ นี่คือความหมายย่อๆ และก็ง่ายๆ ของพรรคการเมือง
            รูปของพรรคการเมือง จะมีรูปเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ อาจจะไม่เรียกว่า “พรรค” ก็ได้ อย่าง ขบวนการประชาธิปไตย หรือคณะรัฐประหารจะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้ามีความมุ่งหมายเพื่อที่จะเข้า กุมอำนาจรัฐแล้ว จะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ก็ได้ชื่อว่า มีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ดังนั้น คำว่า พรรคการเมือง หมายถึง สาระสำคัญของมันไม่ได้หมายถึงรูปแบบ หรือวิธีการ
            พรรคการเมืองเกิดมาพร้อมกับ “รัฐ” (State) คือ ประเทศเมื่อมีรัฐก็มีพรรคการเมือง มีรัฐ ปกครอง ประเทศก็ต้องมีพรรคการเมือง ตั้งแต่โบราณเป็นมาอย่างนี้ พรรคเป็นของคู่กับรัฐ
            พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่อยู่เหนือรัฐ เพราะเข้าไปกุมรัฐ พรรคการเมืองจึงอยู่เหนือกฎหมาย ถ้ามีกฎหมายพรรคการเมืองก็คือ กฎหมายกันพวกอื่นกลุ่มอื่นจะเข้าไปกุมรัฐ สมัยกลางพรรคเรียกว่า ราชวงศ์
            พ.ศ. ​2523 ไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง
            พ.ศ.​2544 ออกกฎหมายให้รัฐอยู่เหนือพรรค ซึ่งผิดหลักผิดเกณฑ์ กฎหมายพัฒนาพรรคไม่ได้
กฎหมายรัฐธรรมนูญมีเพียงฉบับเดียวที่กล่าวถึงพรรคการเมืองไว้อย่างถูกหลักถูกเกณฑ์ของ ระบอบประชาธิปไตย คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.​ 2492
            “บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมกันเป็นพรรคการเมือง เพื่อดำเนินการเมืองตามวิถีทาง ประชาธิปไตย และจะนำเอากฎหมายที่ว่าด้วยสมาคมมาใช้กับพรรคการเมืองมิได้”
            พรรคการเมืองจะเกิดขึ้นหรือมีบทบาทได้ จะต้องมี “พระราชบัญญัติพรรคการเมือง” ขึ้นมา รองรับนั้น เป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะแทนที่การรวมตัวทางการเมืองเป็น “พรรคการเมือง” (Political Party) จะเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ของการเป็นประชาชนของประเทศที่ประชาชนทุกคน พึงจะมีโดยกำเนิด ไม่ต้องอาศัยกฎหมายใดๆ มารองรับทั้งสิ้น
            การกำหนดแนวคิดว่า พรรคการเมืองจะมีขึ้นได้มี พรบ. พรรคการเมืองมารองรับนั้น เท่ากับ เป็นแนวคิดที่ต้องมีการควบคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนให้อยู่ในอำนาจของตน อย่างปฏิเสธไม่ได้ และไม่ต้องการให้ใครมาแย่งอำนาจจากตนนั่นเอง พรรคการเมืองบ้านเราจึงเป็นได้ เพียงบริษัทค้าการเมืองที่รวมตัวกันด้วยเงิน (ทุน) แทนที่จะรวมตัวกันด้วยอุดมการทางการเมือง ไม่ยึด นโยบายแต่อยู่ที่บุคคลระดับสูงในพรรคที่มีเงินมาก เป็นผู้กำหนดบทบาทของพรรค





ความผิดทางการเมือง

            ความผิดในทางศาสนา และความคิดในทางการเมืองเป็นเรื่อง “ธรรมาธิปไตย” ไม่ใช่เป็นเรื่อง ของ “โลกาธิปไตย” จึงเป็นความผิดในทางธรรม ไม่ใช่เป็นความผิดทางโลก (ยกเว้นในกรณีถูกแจ้ง ความดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาอื่น)
            ความผิดในทางศาสนาและความผิดในทางการเมือง จึงไม่มีกฎหมายทางโลกลงโทษ เพราะ เป็นโทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
            โดยเฉพาะกฎธรรมชาตินั้น หนักหนาสาหัสกว่าโทษตามกฎหมาย คือเป็นตราบาปไปตลอด ชีวิต แต่โทษตามกฎหมายติดคุกก็ยังมีวันออก
            พระมีความผิดถึงขั้นปาราชิก ต้องพ้นสภาพจากความเป็นพระ เพราะเป็นความผิดพระธรรม วินัย จึงหมดสิทธิ์จะกลับมาบวชใหม่อีกไม่ได้เลยตลอดชีวิต เป็นตราบาปทางจิตใจไปชั่วชีวิต
            ในทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน เมื่อนักการเมืองมีความผิดทางการเมือง ต้องรับผิดชอบทาง การเมืองด้วยการลาออก และถ้ามีความผิดร้ายแรงในทางการเมือง โดยหลักการจะกลับมาเป็นนัก การเมืองอีกไม่ได้เลย แต่ระบอบเผด็จการ นักการเมืองย่อมไม่ถือหลักถือเกณฑ์


วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติ (ลัทธิฉวยโอกาส)


ขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติ (ลัทธิฉวยโอกาส)
(Counter Revolutionary Movement)

            การปฏิวัติ เป็นกฎของการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งไม่ดีไปสู่สิ่งที่ดีกว่า นักปฏิวัติ คือ ผู้ที่รู้ว่าธรรมชาติ ย่อมมีกฎ เกณฑ์ และรู้ว่าสังคมมนุษย์ต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่การรู้ว่าสังคมต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเดียว ไม่พอ จะต้องรู้ว่าในกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น มีลักษณะพิเศษชนิดหนึ่งเรียกว่า “ปฏิปักษ์ปฏิวัติ” (Counter Revolution) หรือ “ปฏิวัติซ้อน” อยู่ด้วย
            ปฏิวัติซ้อน คือ ปัญหาของการปฏิวัติ เป็นความผิดถูกในขบวนปฏิวัติ แต่เป็นปรากฏการณ์ ภายใน มิใช่ปรากฏการณ์ภายนอก ฉะนั้น จึงเข้าใจยาก ซึ่งการจะเข้าใจได้ต้องอาศัย ความรู้ทางทฤษฏี เท่านั้น เพราะเป็นปัญหาของความคิดที่เรียกว่า “แนวความคิด” (Line of Thought) ซึ่งเป็นแนวความ คิที่ต่างกับแนวปฏิวัติ ปัญหานี้เป็นปัญหาสำคัญที่สุดของการปฏิวัติ เพราะเป็น ปัญหาชี้ขาดของการ ปฏิวัติ ดังนั้น นักปฏิวัติเงื่อนไขแรกที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องเข้าใจว่า ในการปฏิวัตินั้น ย่อมต้องมีการ ปฏิวัติซ้อน และในขบวนการปฏิวัติจึงมีทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิดร่วมกันอยู่ คือมีทั้งฝ่ายปฏิวัติจริง และ ฝ่ายปฏิวัติปลอม มิใช่ว่าในขบวนการปฏิวัติแล้ว ต้องมีแต่นักปฏิวัติเพียงอย่างเดียว ถ้าเข้าใจว่าใน ขบวนการปฏิวัติย่อมเป็นฝ่ายถูกทั้งหมด ก็จะเป็นการเข้าใจผิดพลาดอย่างแรง และความเข้าใจผิด พลาดนี้ จะนำไปสู่ความผิดพลาดถึงขั้นล้มเหลวของการปฏิวัติ และความฉิบหายล่มจมของขบวนการ ปฏิวัติทั้งขบวนด้วย
            เพื่อความเข้าใจในปัญหานี้ จะต้องทำความเข้าใจกับขบวนการเมือง (Political Movement) ที่สำคัญคือ ขบวนการเผด็จการ และ ขบวนการประชาธิปไตย
            ขบวนการเผด็จการ เป็นขบวนการล้าหลัง (Back Ward) ขบวนการประชาธิปไตย เป็น ขบวนกาก้าวหน้า (Progressive) นัยหนึ่ง ขบวนการเผด็จการเป็นขบวนการปฏิกิริยา (Reactionary) ขบวนการประชาธิปไตยเป็นขบวนการปฏิวัติ (Revolutionary)
            ในขบวนการปฏิวัติยังสามารถแยกออกได้เป็น 2 ชนิด คือ การปฏิวัติประชาธิปไตย (Democratic Revolution) และ การปฏิวัติสังคมนิยม (Socialist Revolution) เหตุที่จัดขบวนการ ปฏิวัติสังคมนิยมอยู่ในขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตย เพราะขบวนการปฏิวัติสังคมนิยม ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถทำการปฏิวัติสังคมนิยม จึงต้องเข้าร่วมทำการปฏิวัติประชาธิปไตย กับขบวนการ ประชาธิปไตยก่อน แต่ก็เป็นปัญหาเพียงด้านภารกิจเท่านั้น มิใช่จุดหมายปลายทาง
            ขบวนการปฏิวัตนั้น นอกจากจะจำแนกเป็นขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตย และขบวนการ ปฏิวัติสังคมนิยมแล้ว ยังจำแนกเป็น ขบวนการปฏิวัติ (Revolutionary Movement) และ ขบวนการ ปฏิวัติซ้อน (Counter Revolutionary Movement) อีกด้วย
            ขบวนการปฏิวัติซ้อน โดยรูปแบบเป็นขบวนการปฏิวัติ ไม่ใช่ขบวนการปฏิกิริยา เป็นขบวน การก้าวหน้า ไม่ใช่ขบวนการล้าหลัง แต่โดยเนื้อแท้ต่างกับขบวนการปฏิวัติ เพราะมีแนวทางและ นโยบายส่งเสริมแก่ระบอบเผด็จการ แต่มีเจตนารมณ์ประชาธิปไตย เช่นเดียวกับขบวนการ ประชาธิปไตย ฉะนั้น บทบาทของขบวนการปฏิวัติซ้อน คือ เป็นหลักค้ำของระบอบเผด็จการ และทำลายประชาธิปไตย เพราะว่า ขบวนการณ์เหล่านี้ไม่มีการนำของตนเอง หากแต่ต้องอาศัย การนำของขบวนการอื่นๆ เช่น การนำของพรรคคอมมิวนิสต์บ้าง การนำของพรรคเผด็จการบ้าง
            ระบอบเผด็จการ ความจริงหาได้มีความเข้มแข็งแต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นอำนาจของคน ส่วนน้อย แต่ที่ระบอบเผด็จการสามารถดำรงอยู่ได้นั้น ก็เพราะบทบาทของขบวนการปฏิวัติซ้อน หรือประชาธิปไตยปลอมนี่เอง ฉะนั้น ขบวนการประชาธิปไตยปลอม จึงเป็นอุปสรรคของการปฏิวัติ ประชาธิปไตยอย่างที่สุด เพราะเป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติที่คอยปกป้องระบอบเผด็จการ การปฏิวัติจะเป็นไป ได้หรือไม่ จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการต่อสู้ระหว่าง ขบวนการเผด็จการ กับ ขบวนการประชาธิปไตย เป็น สำคัญ แต่ขึ้นอยู่กับการต่อสู้ระหว่างขบวนการประชาธิปไตย กับขบวนการประชาธิปไตยปลอมเป็น สำคัญ และเหตุที่การปฏิวัติประชาธิปไตยบ้านเราล้มเหลวมาตลอดก็เพราะสาเหตุตรงจุดนี้นั่นเอง
            ในสถานการณ์ปฏิวัติยังมาไม่ถึงปัญหานี้จะไม่ค่อยมี แต่ถ้าสถานการณ์ปฏิวัติใกล้จะมาถึง ความขัดแย้งของขบวนการปฏิวัติซ้อนจะแสดงบทบาทปฏิปักษ์ปฏิวัติอย่างรุนแรง ในสถานการณ์ เช่นนี้ ถ้าขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยไม่สามารถขจัดขบวนการปฏิวัติซ้อนให้หมดสิ้นได้ การปฏิวัติ ก็จะล้มเหลว และฝ่ายปฏิวัติก็จะถูกทำลายหรือไม่ก็จะได้รับความเสียหายอย่างที่สุด
            จากประวัติศาสตร์การปฏิวัติของประเทศต่างๆ ความล้มเหลวของขบวนการปฏิวัติ เพราะเนื่อง มาจากไม่เข้าใจขบวนการปฏิวัติซ้อนมีให้เห็นเป็นอุทธาหรณ์มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การปฏิวัติของ จีน เมื่อพ.ศ. 2460 ซึ่งขบวนการปฏิวัตินำโดยพรรค “ก๊กมินตั๋ง” มี ดร. ซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำการปฏิวัติ ประชาธิปไตย ต้องการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของจีน ต้องการปฏิรูปที่ดินโดย ดร. ซุนยัดเซ็น ได้กำหนดทฤษฏีที่ถูกต้องสมบูรณ์ และประยุกต์เข้ากับสภาพของประเทศจีน เรียกว่า “ลัทธิไตรราษฎร” หมายถึงหลัก 3 ประการ คือ 1) ลัทธิชาตินิยม 2) ลัทธิประชาธิปไตย 3) ลัทธิการ ครองชีพของประชาชน ดูเหมือนว่าการปฏิวัติของ ดร. ซุนยัดเซ็น จะสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะ ประชาชนให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ขบวนการปฏิวัติของ ดร. ซุนยัดเซ็น จึงสามารถโค่นล้ม ขบวนการปฏิกิริยาของ พระนางซูสีไทเฮา ลงได้
            แต่พออยู่มาเพียง 10 ปีเท่านั้น การปฏิวัติของ ดร. ซุนยัดเซ็น ต้องล้มเหลวและนักปฏิวัติใน ขบวนการของ ดร. ซุนยัดเซ็น ถูกทำลายจนสิ้น เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะใน ขบวนการปฏิวัติมี ขบวน ปฏิวัติซ้อน อยู่ด้วย โดยพรรค “ก๊กมินตั๋ง” ได้รวบรวมเอาบุคคลทั้งฝ่ายผิดและฝ่ายถูกไว้ในขบวนการ เดียวกัน แม้จะรู้อยู่ว่ามีทั้งฝ่ายผิดฝ่ายถูกแต่เห็นว่าเป็นพวกเดียวกัน จึงไม่ขจัดฝ่ายผิดให้หมด ปล่อยให้ ฝ่ายผิดอย่างเช่น เจียงไคเช็ค ขยายตัวเติบโตได้ เพราะเห็นว่า เจียงไคเช็ค ได้ไปศึกษาเล่าเรียนการ ปฏิวัติมาจากโซเวียต มีคุณสมบัติเพรียบพร้อมสำหรับการปฏิวัติ ดร. ซุนยัดเซ็น จึงแต่งตั้งให้เป็นนาย ทหาร แต่ภายในจิตใจของเจียงไคเช็คมีความทะเยอทะยานอยากเป็นใหญ่
            เมื่อขบวนการประชาธิปไตย โค่นล้มขบวนการเผด็จการของพระนางซูสีไทเฮาลงได้ และ ดร. ซุนยัดเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็คจึงสบโอกาสปราบนักประชาธิปไตย โดยอาศัยข้ออ้างว่าปราบ คอมมิวนิสต์ เพื่อปราบนักประชาธิปไตย แต่จริงๆ แล้วคอมมิวนิสต์ไม่ได้ถูกปราบ ทำให้พวก ประชาธิปไตยคือพวก “ก๊กมินตั๋ง” ถูกฆ่าตายเกีอบหมด ส่วนหนึ่งได้หนีตายมาทางทะเลใต้ และเข้า ประเทศไทย ก็คือกองพล 93 ของ ดร. ซุนยัดเซ็น นั่นเอง
            ผลสุดท้ายประเทศจีน จึงเหลือแต่คู่ต่อสู้ระหว่างเจียงไคเช็ค ซึ่งกลายเป็น ขบวนการเผด็จการ กับ ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยม ของเหมาเจ๋อตุงเท่านั้น และผลก็คือ ขบวนการเผด็จการก็แพ้ ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยมในที่สุด ถ้าขบวนการประชาธิปไตยไม่ถูกขบวนการปฏิวัติซ้อนทำลาย ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยมจะไม่มีโอกาสทำการปฏิวัติได้สำเร็จอย่างแน่นอน นี่คือตัวอย่าง ขอฝ่าย ปฏิวัติที่ไม่เข้าใจฝ่ายปฏิวัติซ้อน
            โดยเฉพาะจะเห็นได้ว่า ฝ่ายปฏิวัติปราบฝ่ายปฏิวัตินั้นมีความรุนแรงที่สุด รุนแรงยิ่งกว่าฝ่าย ปฏิกิริยาปราบฝ่ายปฏิวัติเสียอีก เพราะฝ่ายปฏิกิริยาไม่ค่อยมีกำลังจึงมักไม่รุนแรง แต่ฝ่ายปฏิวัติซ้อน มีกำลังจึงมักรุนแรง โดยเฉพาะฝ่ายปฏิวัติด้วยกัน จึงต่างรู้ทันกัน จึงมักถูกทำลาย อย่างรุนแรง
            มีหลายประเทศต้องการทำปฏิวัติหลายครั้ง จึงปฏิวัติสำเร็จ เหตุที่การปฏิวัติ ไม่สำเร็จในครั้ง เดียวก็เพราะ บทบาทของการปฏิวัติซ้อนเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติ เช่น ประเทศอังกฤษต้องทำการ ปฏิวัติใหญ่อยู่หลายครั้งจึงประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างปฏิวัติใหญ่ปี ค.ศ. 1640 ล้มเหลว การปฏิวัติ ใหญ่ในปี ค.ศ. 1648 ล้มเหลว และการปฏิวัติที่โด่งดังที่สุดในปี ค.ศ. 1688 ข้าราชการและประชาชน เข้าร่วมการปฏิวัติครั้งใหญ่ เปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ใน ระบบรัฐสภาแล้ว แต่อังกฤษก็ยังปฏิวัติไม่เสร็จอีก เพราะกลายเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภาไปเสียอีก ในทางเศรษฐกิจจึงเกิดเป็นระบบผูกขาดทำให้ประชาชนยากจนลง
            จนปี ค.ศ. 1837 ได้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่เพื่อขจัดการผูกขาด นำโดย ขบวนการชาร์ติสต์ เรียกร้อง “กฎบัตรของประชาชน” หรือที่เรียกว่า “ญัตติ 6 ประการ” ประเทศอังกฤษ จึงประสบความ สำเร็จของการปฏิวัติประชาธิปไตย หรืออย่างการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส ก็ต้องทำการปฏิวัติใหญ่อยู่ หลายครั้งเช่นกัน เช่น การปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ. 1789 ซึ่งเรียกว่า “มหาปฏิวัติฝรั่งเศส” (Great Frence Revolution) การปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ. 1848 จากการกำเนิดขึ้นของลัทธิคอมมิวนิสต์ และการปฏิวัติ ใหญ่ปี ค.ศ. 1871 จากการต่อสู้กันของรัฐบาลปารีส คอมมูน กับรัฐบาลแวซาย ซึ่งมีกรรมกร ล้มตาย ประมาณ 1 แสนคน การปฏิวัติฝรั่งเศสจึงประสบความสำเร็จ
            สำหรับการปฏิวัติของประเทศไทย มีการปฏิวัติใหญ่ในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งนำโดย “คณะราษฎร” ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบบรัฐสภา จนถึงทุกวันนี้ นั้น ความจริงแล้วหาใช่ระบอบประชาธิปไตยไม่ เป็นเพียงระบอบเผด็จการรัฐสภาเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ทางเศรษฐกิจได้เกิดการเอารัดเอาเปรียบอย่างกว้างขวาง เรียกว่า “ระบบผูกขาด” ประชาชนยากจนลง เป็นลำดับซึ่งไม่ต่างกับประชาชนในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1837 ดังนั้น การปฏิวัติของคณะราษฎร โดยแท้จริงแล้วก็คือ การปฏิวัติของขบวนการประชาธิปไตยปลอม หรือขบวนการปฏิวัติซ้อน นั่นเอง เพราะในสมัยนั้นมีขบวนการปฏิวัติจริงอยู่แล้วคือ ขบวนการของรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงทำการปฏิวัติแบบ สันติค่อยเป็นค่อยไป แต่ขบวนการปฏิวัติซ้อนฉวยโอกาสตัดหน้าไปเสียก่อน ดังนั้น ผลที่ออกมาก็คือ ประชาธิปไตยปลอม นั่นเอง เพราะทำการปฎิวัติจาก ขบวนการประชาธิปไตยปลอม ฉะนั้น การปฏิวัติ ใหญ่ในปี 2475 ของประเทศไทย จึงไม่ใข่การปฏิวัติครั้งสุดท้าย ประเทศไทย จะต้องมีการ ปฏิวัติใหญ่ เกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน
            ขบวนการปฏิวัติซ้อน ดังได้กล่าวแล้วว่า เป็นปัญหาทางทฤษฏี เป็นปรากฎการณ์ภายในที่มอง ไม่เห็น ฝ่ายปฏิวัติจริงมักจะไม่เข้าใจกัน เพราะเข้าใจยาก และมักจะไม่มีใครยอมเชื่อด้วย เพราะถือว่า ฝ่ายปฏิวัติย่อมถูกหมด มองว่าเป็นพวกเดียวกัน ถ้าใครมามองที่ตรงจุดนี้ เข้ามักจะถูกโจมตีว่าเป็นพวก ขัดขวางปฏิวัติบ้าง เป็นพวกทำลายความสามัคคีบ้าง เป็นต้น โดยไม่เข้าใจว่าในขบวนการปฏิวัตินั้น มีทั้งฝ่ายผิดและฝ่ายถูก ฝ่ายผิดแท้จริงก็คือกำลังที่เป็นของฝ่ายปฏิกิริยา หาใช่เป็นกำลังให้แก่ฝ่ายปฏิวัติ ไม่ แม้ว่าจะอ้างชื่อเป็นขบวนการประชาธิปไตยก็ตาม ฉะนั้น ถ้านักปฏิวัติไม่เข้าใจปัญหานี้ เป็น อันตรายที่สุด
            การปฏิวัติ ยุทธวิธีที่สำคัญประการหนึ่งคือ การเสนอความจริงหรือความถูกต้องต่อประชาชน การปิดบังอำพรางความจริงต่อประชาชนย่อมถือเป็นข้อห้ามของนักปฏิวัติ เพราะเป็นการส่อให้เห็นถึง ลักษณะเจตนาไม่บริสุทธิ์ใจต่อประชาชนเสียแล้ว ย่อมจะขาดคุณสมบัติของนักปฏิวัติประชาธิปไตย ไปทันที ซึ่งต่างจากขบวนการปฏิวัติซ้อนเป็นขบวนการที่ไม่ต้องการให้ความจริงแก่ประชาชน เพราะ ในส่วนลึกของพวกนี้จะรักษาความไม่ถูกต้องไว้ จึงมักจะมีข้ออ้างต่างๆ ไม่ยอมให้ฝ่ายถูกชี้ผิดชี้ถูก ต่อประชาชน แท้จริงก็คือการยึดถือหลักการของระบอบเผด็จการเอาไว้ หาใช่ถือหลักการของ ประชาชนไม่ โดยเฉพาะเพื่อการตบตาหลอกประชาชนให้แนบเนียนยิ่งขึ้น ขบวนการปฏิวัติซ้อน จึงมักแสดงเคร่งหรือเอาจริงเอาจังเกินกว่าปกติ ทำนองเดียวกับพวกอลัชชีมักจะเคร่งกว่าพระ และ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ นักเคลื่อนไหวที่ชอบด่าฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสะใจผู้ฟัง และด่าอย่างเดียว นั้น นั่นแหละพวกเคาเตอร์ตัวจริง ฉะนั้น บุคคลที่ทำอะไรเคร่งครัดเกินกว่าปกติ นั่นคือคุณสมบัติที่แท้ จริงของพวกปฏิวัติซ้อน
            ถ้าขบวนการปฏิวัติปล่อยให้สิ่งผิดครอบงำโดยไม่แก้ไข จึงเรียกว่า “ปฏิวัติเพื่อปราบปฏิวัติ” คือ ฝ่ายผิดปราบฝ่ายถูกนั่นเอง หลักประกันความสำเร็จของการปฏิวัติจึงมีอย่างเดียว คือ ขจัดขบวนการ ปฏิวัติซ้อนให้หมดสิ้น ไม่มีการประนีประนอมเด็ดขาด เพราะความไม่ถูกต้อง เป็นพื้นฐานของการ แตกสามัคคี ที่ไหนมีความไม่ถูกต้องที่นั่นย่อมแตกความสามัคคี
            การทำลายขบวนการปฏิวัติซ้อนในบ้านเราง่าย ไม่เหมือนต่างประเทศ เพราะฝ่ายปฏิวัติซ้อน ในบ้านเราไม่มีทฤษฏีเป็นอาวุธจึงไม่เข้มแข็ง พวกปฏิวัติซ้อนในต่างประเทศ มักมีทฤษฏีเป็นเครื่องมือ จึงเข้มแข็งมาก ฝ่ายปฏิวัติจึงทำลายยาก การต่อสู้กับขบวนการปฏิวัติซ้อน มิใช่การอธิบายความไม่ ถูกต้องต่อ พวกปฏิวัติซ้อน การต่อสู้ชนิดนี้จะไม่ได้ผล การต่อสู้ที่ได้ผลก็คือ การอธิบายต่อประชาชน
            ในขบวนการปฏิวัติย่อมมีขบวนการปฏิวัติซ้อนอยู่ด้วยฉันใด และขบวนการปฏิวัติซ้อนเป็น กำลังให้แก่ขบวนการปฏิกิริยาฉันใด ในขบวนการเผด็จการ ก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีขบวนการเผด็จการ ซ้อนอยู่ด้วยฉันนั้น และขบวนการเผด็จการซ้อน ย่อมเป็นกำลังให้แก่ขบวนการปฏิวัติ ด้วยฉันนั้น เช่นกัน ฉะนั้น นักปฏิวัติประชาธิปไตยนอกจากจะต้องรู้ว่า มีขบวนการปฏิวัติซ้อนซึ่งจะต้องขจัดแล้ว จะต้องรู้จักการใช้ประโยชน์จากขบวนการปฏิกิริยาซ้อนให้เป็นประโยชน์แก่ขบวนการปฏิวัติด้วย ขบวนการปฏิวัติจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รัฐบาลแห่งชาติ (National Government)


รัฐบาลแห่งชาติ (National Government)


            รัฐบาลแห่งชาติ ตามวิชารัฐศาสตร์ หมายถึง รัฐบาลที่มีหลักการและองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
            1) รัฐบาลแห่งชาติ หมายถึง “การปกครอง” (Government) ของ “รัฐ” (State) ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern Ages) เท่านั้น ที่เรียกว่า “รัฐประชาชาติ” (National State) หรือ “รัฐแห่งชาติ” (State of Nation)
            รัฐในประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Middle Ages) ไม่มี รัฐแห่งชาติ จึงไม่มีรัฐบาลแห่งชาติ เพราะ มีแต่ “รัฐเจ้าครองนคร” (Feudal State) แต่เรามักเรียกกันว่า รัฐศักดินา
            รัฐ หรือ State เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ได้มีการเปลี่ยนรูปของรัฐตามยุคสมัยเป็นลำดับมา ดังนี้
                   1. รัฐในสมัยกรีกโบราณ หรือ ยุคบรรพกาล  เรียกว่า นครรัฐ (City State)
                   2. รัฐในสมัยอาณาจักรโรมัน หรือ ยุคทาส เรียกว่า รัฐจักรวรรดิ์ (Empire State)
                   3. รัฐในสมัยเจ้าครองนคร หรือ ยุคกลาง เรียกว่า รัฐศักดินา (Feudal State)
                   4. รัฐในสมัยประชาชาติ หรือ ยุคใหม่ เรียกว่า รัฐแห่งชาติ (Nation State)
            ดังนั้น ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เมื่อ รัฐ เปลี่ยนรูปเป็น ชาติ แล้วจึงเกิด รัฐบาลแห่งชาติ ขึ้น
            2) รัฐบาลแห่งชาติ คือความคิดที่ยึดถือหลักวิชารัฐศาสตร์ที่ว่า ประเทศที่เป็นเอกราช เท่านั้น มี รัฐบาลแห่งชาติ (National Government) ได้ ส่วนรัฐบาลของรัฐที่ไม่ใช่เอกราช ไม่เรียกว่า รัฐบาลแห่ง ชาติ แต่เรียกรัฐบาลแห่งรัฐ (State Government) หรือรัฐบาลมลรัฐ หรือรัฐบาลสหพันธ์ (Federal Government) (ปัญหาเขาพระวิหารนั้น ต้องมาพูดกันที่ปัญหาประเทศกัมพูชาเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากรัฐเจ้าครองนครมาเป็น รัฐประชาชาติ (National State) ได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายของรัฐแห่งชาติแล้ว (สหประชาชาติ) โดยรวมเอาเขมรในเป็นส่วนหนึ่งด้วย จึงทำให้ เขาพระวิหารต้องเป็นของไทย แต่นักการเมืองไม่เข้าใจปัญหานี้ จึงแพ้กัมพูชาตลอดมา)
            3) ชาติเอกราชย่อมมี รัฐแห่งชาติ (Nation State) หรือเรียกว่า “รัฐประชาชาติ” และ รัฐบาล (Government) ของรัฐแห่งชาติก็คือ รัฐบาลแห่งชาติ (National Government) กัมพูชาไม่เคยเป็นชาติ เอกราชมาก่อน เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของไทย หรือมณฑลหนึ่งของไทย เช่น เดียวกัน รัฐมอญเป็น มณฑลหนึ่งของพม่า เมื่อเป็นเอกราชจะมี รัฐแห่งชาติ มิได้ เว้นแต่ไทยอนุญาต ในสหประชาชาติ เท่านั้น และไม่อาจสืบสิทธิอาณาเขตจากฝรั่งเศสได้
            4) รัฐบาลแห่งชาติ เรียกอีกอย่างว่า รัฐบาลของชาติ หรือรัฐบาลของประเทศก็ได้ ในประเทศ หนึ่งๆ ย่อมมีรัฐบาลทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินเพียงรัฐบาลเดียว และรัฐบาลนั้นถ้าพูดตามหลัก วิชารัฐศาสตร์ก็คือ รัฐบาลแห่งชาติ
            ฉะนั้น รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน จึงล้วนเป็นรัฐบาลแห่งชาติทั้งสิ้น เช่นเดียวกับคำว่า กองทัพแห่งชาติ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งหมายความว่า มีแห่งเดียวในประเทศไทย แต่ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เขียนไว้ในคอลัมน์พินิจ การ เมือง หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ตอนหนึ่งว่า “...รัฐบาลแห่งชาติ เป็น รัฐบาลเฉพาะกิจ” เท่านั้น เมื่อ เหตุการณ์คลี่คลายกลับสู่สภาวะปกติ “รัฐบาลแห่งชาติ” ก็ต้องสลายตัวไป เพื่อให้ระบบการตอบสนอง สามารถทำงานได้ตามปกติ ต้องระลึกไว้เสมอว่าจะไม่มี “รัฐบาลแห่งชาติ” ในสภาวะปกติ !!”
            ก็ไม่รู้ว่าท่านเอาความเห็นนี้มาจากไหน เหลวไหลสิ้นดี?
            5)  รัฐบาลแห่งชาติ เป็นรัฐบาลของระบอบอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่ที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร เป็นรัฐบาลของระบอบสมบูรณาณาสิทธิราชย์ก็ได้ เป็นรัฐบาลของระบอบเผด็จการรัฐสภาก็ได้ เป็น รัฐบาลของระบอบประชาธิปไตยก็ได้
            6) เรามีรัฐบาลแห่งชาติชุดแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 คืรัฐบาลแห่งชาติของพระบาสมเด็พระจุลจอเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ทั้งนี้ เพราะพระองค์ทรงเปลี่ยนแปลง รัฐเจ้าครองนคร (Feudal State) เป็น รัฐแห่งชาติสยาม ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 โดยทรงรวบรวมแว่นแคว้นหัวเมืองชั้นนอก และชั้นในของไทย รวมทั้งอาณาเขต ลาวที่ลัดจากแคว้นสิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหก และอาณาเขตเขมรใน มาเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน เรียกว่า “รัฐอาณาจักร” (Kingdom) หรือ รัฐเดียว (Unitary State) เราจึงมี รัฐบาลแห่งชาติ กำเนิด ขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาจนถึง พ.ศ. 2475 เป็นเวลา 40 ปี และภายหลังเปลี่ยนแปลงการ ปกครองเป็น ระบอบปริมิตาญาสิทธิราชย์แล้ว เราก็ยังมี รัฐบาลแห่งชาติ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเวลา 78 ปี แต่เป็น รัฐบาลแห่งชาติของระบอบ เผด็จการรัฐสภา รวมแล้วเรามี รัฐบาลแห่งชาติ มานานกว่าศตวรรษแล้ว ไม่ใช่ว่ายังไม่เคยมี รัฐบาลแห่งชาติ เพียงแต่เรายังไม่เคยมีรัฐบาลแห่งชาติของ ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) เหมือนกับในประเทศอื่นเขาเท่านั้น รวมความว่า รัฐบาลทุกชุดที่เป็น รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงปัจจุบัน ล้วนเป็นรัฐบาลของชาติทั้งสิ้น
            7) คำว่า “รัฐบาลแห่งชาติ” มาจากคำอังกฤษว่า “National Government” คำว่า Government แปลว่า “การปกครอง” ดังนั้น รัฐบาลแห่งชาติในความหมายที่สำคัญ หมายถึง “การปกครองแห่งชาติ” มิใช่หมายถึง คณะรัฐมนตรี เพราะคำว่า “การปกครอง” (Government) นั้น เรียกเป็นศัพท์บาลีว่า “รัฐบาล” แม้ว่าบางทีเราจะใช้คำว่า “รัฐบาล” แทนคำว่า “รัฐมนตรี” (Cabinet) แต่ต้องเข้าใจว่า “Government” นั้นมิใช่ “Cabinet” และ Government เป็นเรื่องหลักการ ส่วน Cabinet เป็นเรื่อง บุคคล จะเอามาปะปนกันไม่ได้ เหตุที่การเมืองบ้านเราที่มีปัญหายุ่งยากกันในทุกวันนี้ ก็เพราะนัก วิชาการ มักจะเอาคำ 2 คำนี้มาปะปนกัน จนกระทั่ง รัฐบาลแห่งชาติ หมายความว่าอะไร ก็ยังไม่รู้เลย
            8) คำว่า “การปกครอง” (Government) นั้น หมายความรวมถึง องค์กรแห่งอำนาจอธิปไตย ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้ง “รูปการปกครอง” (Form of Government) และ “หลักการปกครอง” (Principle of Government) ถ้าขาดข้างหนึ่งข้างใดก็จะไม่ใช่ การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government)  การปกครองบ้านเราผิดทั้งรูปการปกครอง และหลักการปกครอง แต่นักวิชาการ ก็ไม่เข้าใจเพราะไม่มีความรู้
            รูปการปกครอง เช่น รัฐสภา ระบอบรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตลอดจนกลไกต่างๆ ของรัฐ อาทิเช่น กองทัพ ระบบราชการ รวมถึงรูปแบบและวิธีการต่างๆ เช่น การเลือกตั้ง และ รัฐธรรมนูญ ฯลฯ
            หลักการปกครอง ก็คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ หลักนิติธรรม และรัฐบาล หรือ การปกครอง จากการเลือกตั้ง